8 ภาษาถิ่นของจีน

8 ภาษาถิ่นของจีน

1. ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方方言) มีภาษาปักกิ่งเป็นหลัก นิยมพูดในกลุ่มคนที่อาศัยตามริมฝั่งน้ำทางตอนเหนือของแม่น้ำฉางเจียง (แยงซี) และเจิ้นเจียงขึ้นไป และจิ่วเจียงทางตอนล่าง ซื่อชวน(เสฉวน) หยุนหนัน กุ้ยโจว และทางตะวันตกเฉียงเหนือของหูเป่ย หูหนัน นอกจากนี้ยังรวมถึงทางตอนเหนือของกว่างซี (กวางสี) ทั่วประเทศจีนมีชาวจีนที่ใช้ภาษาถิ่นนี้จำนวนสูงถึง 70% ขึ้นไป

2. ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吴方言) มีภาษาเซี่ยงไฮ้เป็นหลัก นิยมทางตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียง ในมณฑลเจียงซู และทางตะวันออกของเจิ้นเจียง (ไม่รวมตัวเมืองเจิ้นเจียง) และมณฑลเจ้อเจียงเกือบทั้งหมด ชาวจีนที่ใช้ภาษานี้จำนวน 8.4% โดยประมาณ

3. ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘方言) มีภาษาฉางซาเป็นหลัก นิยมทางแถบมณฑลหูหนัน ประมาณว่ามีชาวจีนที่ใช้ภาษานี้ราว 5%

4. ภาษาถิ่นแถบเจียงซี (赣方言) มีภาษาหนันชังเป็นหลัก นิยมทางแถบมณฑลเจียงซี (ยกเว้นตามริมน้ำทางตะวันออกและตอนใต้) และทางตะวันออกเฉียงใต้ของหูเป่ย มีชาวจีนจำนวน 2 .4 % โดยประมาณที่พูดภาษาถิ่นแถบเจียงซีนี้

5. ภาษาถิ่นแคะ (客家方言) มีภาษาถิ่นอำเภอเหมยเซี่ยนเป็นหลัก  นิยมทางแถบตะวันออก ตอนใต้และตอนเหนือของมณฑลกวางตุ้ง แถบตะวันออกเฉียงใต้ของกว่างซี ฝั่งตะวันตกของมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน)  และตอนใต้ของมณฑลเจียงซี รวมถึงบางแห่งในหูหนันและซื่อชวน  ประมาณว่ามีชาวจีนที่ใช้ภาษานี้อยู่ 5%

6. ภาษาถิ่นฮกเกี้ยนเหนือ (闽北方言) มีภาษาฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) เป็นหลัก นิยมทางแถบเหนือของมณฑลฝูเจี้ยน และที่ไต้หวัน ชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีนบางส่วนก็ใช้ภาษาถิ่นหมิ่นเป่ยด้วย มีประชาชนราว 1.2% ใช้ภาษานี้

7. ภาษาถิ่นฮกเกี้ยนใต้ (闽南方言) มีภาษาถิ่นเซี่ยเหมินเป็นหลัก ภาษาถิ่นในกลุ่มนี้ที่คนไทยคุ้นเคยกันดี คือ ภาษาแต้จิ๋ว  ภาษาถิ่นฮกเกี้ยนใต้นิยมใช้ทางแถบใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน บางพื้นที่ทางแถบตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง และในหมู่เกาะไห่หนัน (ไหหลำ) รวมถึงไต้หวัน 

8. ภาษาถิ่นกวางตุ้ง (粤方言) มีภาษาถิ่นกว่างโจวเป็นหลัก นิยมทางแถบมณฑลกวางตุ้ง และทางตะวันออกเฉียงใต้ของกว่างซี รวมถึง ชาวจีนโพ้นทะเลบางส่วนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีนก็นิยมใช้ภาษาถิ่นกวางตุ้งด้วย รวมแล้วมีผู้ใช้ภาษาถิ่นกวางตุ้งราว 5% นอกจากนี้ บางแหล่งยังรวมภาษาถิ่นพิง (平语方言) ซึ่งเป็นภาษาที่เป็นเกิดจากการรุกล้ำของภาษาถิ่นเหนือเข้าสู่เขตที่มีผู้ใช้ภาษาถิ่นใต้  นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในเขตปกครองตนเองกว่างซี

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย