อาหารจีน

อาหารเสฉวน หรือ ชวนไช่

เริ่มขึ้นในแต่ช่วงปลายยุคสมัยฉินและต้นสมัยของราชวงศ์ฮั่น ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และในช่วงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเป็นช่วงระยะเวลาที่อาหารเสฉวนได้มีชื่อเสียงอย่างมาก ปัจจุบันจะพบเห็นร้านอาหารเสฉวนกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนโลก และเมืองที่เป็นต้นตำหรับของอาหารเสฉวนก็คือเมืองเฉิงตูและเมืองฉงชิ่ง  จุดเด่นของของอาหาร

เสฉวนจะอยู่ที่การให้ความสำคัญในการคัดสรรวัตถุดิบ พิถีพิถันในเรื่องความโดดเด่นและสีสันของอาหาร ส่วนรสชาตินั้น จะเน้นรสชาติที่จัดจ้าน เปรี้ยว หวาน เผ็ด ชา และมันมาก ซึ่งรสชาติความเผ็ดแบบชาๆ นี่เอง ที่กลายเป็นสไตล์เฉพาะตัวของอาหารเสฉวน วัตถุดิบหลักที่ทำให้อาหารเสฉวนมีรชาติควาเผ็ด ชาๆ นี้ได้มาจาก พริกสด (辣椒) พริกไทย (胡椒) พริกเสฉวน (花椒) และขิงสด (鲜姜) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในพื้นที่แถบนี้  นอกจากนี้การปรุงอาหารเสฉวน ยังขึ้นชื่อว่า“หนึ่งอย่างหนึ่งรสชาติ ร้อยอย่างร้อยรสชาติ” (一菜一味,百菜百味)

อาหารซานตง หรือ หลู่ไช่  

กล่าวกันว่าตั้งแต่ช่วงยุคหลังราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา อาหารซานตงได้กลายเป็นตัวแทนของอาหารทางตอนเหนือ ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง อาหารซานตงก็ได้กลายเป็นอาหารหลักที่ใช้ทำถวายในราชสำนัก ส่วนที่มาของอาหารซานตงนั้น ถือว่าเป็นการผสมผสานและวิวัฒนาการมาจากอาหารของเมืองจี้หนาน (济南) และเมืองเจียวตง (胶东) โดยการจุดเด่นของอาหารซานตงนั้น จะอยู่ที่รสชาติสดใหม่และกลิ่นที่หอมละมุน รวมถึงความพิถีพิถันในการปรุงซุป ทั้งซุปใส (清汤) ที่น้ำซุปมีความใส และซุปข้น (奶糖) ที่น้ำซุปมีสีขาวและรสชาติเข้มข้น

อาหารกวางตุ้ง หรือเยวี่ยไช่ 

พบว่าอาหารกวางตุ้ง ได้เริ่มมีการบันทึกไว้ตั้งแต่ยุคสมัยฮั่นตะวันตก (西汉) ในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (南宋) ได้มีการส่งพ่อครัวของราชสำนักไปยังกว่างโจว ต่อมาจนถึงยุคสมัยราชงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากรติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ทำให้มีการซึมซับจุดเด่นของอาหารตะวันตกเข้ามา ส่วนที่มาของอาหารกวางตุ้งนั้นมีวิวัฒนาการมาจากอาหารกว่างโจว (广州) แต้จิ๋ว (潮州) และตงเจียง (东江) โดยวัตถุดิบของอาหารกวางตุ้งนั้นมีความหลากหลาย มีสีสัน และพิถีพิถันในเรื่องของความสดใหม่ของอาหาร โดยทั่วไปนั้น ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงจะเน้นการปรุงรสชาติอาหารที่ค่อนข้างจืด แต่ในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลินั้นจะปรุงอาหารให้มีรสชาติเข้มข้น กลมกล่อม

อาหารซูโจว หรือว่า ซูไช่ 

เกิดขึ้นในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ของจีน ในยุคสมัยราชวงศ์ถังอาหารซูโจวมีชื่อเสียงคู่กับอาหาร เจ้อเจียง ส่วนที่มาของอาหารซูโจวนี้ ได้ประกอบขึ้นมาจากอาหารเจียงซู (江苏) หยางโจว (扬州) หนานจิง (南京) และเจิ่นเจียง (镇江) โดยจุดเด่นของอาหารซูโจวอยู่ที่รสชาติที่เข้มข้นแต่ไม่ยังจัดจ้านและมีความหอมละมุน ในตัวน้ำซุปมีความเข้มข้นแต่ไม่เลี่ยน รสชาติกลมกล่อม มีรสเค็มปนหวาน พิถีพิถันในรูปลักษณ์ และการให้สีสันของอาหารตามฤดูการที่แตกต่างกัน

อาหารเจ้อเจียง หรือ เจ๋อไช่ 

อาหารเจ้อเจียงเป็นการพัฒนามาจากอาหารเมืองหังโจว (杭州) เมืองหนิงโป (宁波) เมืองซ่าวซิง (绍兴) จุดเด่นของอาหารเจ้อเจียงคือ ความหอม สดใหม่ กรอบและละมุนของอาหาร

อาหารฮกเกี้ยน หรือ หมิ่นไช่ 

อาหารฮกเกี้ยนมีต้นกำเนิดจากอำเภอหมิ่นโหว (闽侯) มณฑลฝูเจี้ยนและเป็นอาหารที่มีวิวัฒนาการมาจากอาหารของเมืองฝูโจว เฉวียนโจวและเซี้ยะเหมิน จุดเด่นอาหารฮกเกี้ยนอยู่ที่หน้าตา สีสัน และความสดใหม่ของอาหาร เนื่องด้วยมณฑลฝูเจี้ยนมีพื้นที่อยู่ติดทะเล ทำให้มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้อาหารฮกเกี๊ยนส่วนใหญ่จึงใช้อาหารทะเลเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหาร

อาหารหูหนาน หรือ เซียงไช่ 

เป็นอาหารที่พัฒนามาจากอาหารของแถบพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเซียง (湘江流域) และแถบทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖区) ส่วนจุดเด่นอาหาร หูหนานนั้น จะอยู่ที่การใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย ความมันและการให้สีสันของอาหาร โดยวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการประกอบอาหารหูหนานคือ พริก และเนื้อรมควัน (熏腊) ส่วนรสชาติของอาหารหูหนานนั้นจะเน้นที่รสเปรี้ยวเผ็ด (酸辣) เป็นหลัก

อาหารอานฮุย หรือ ฮุยไช่ 

อาหารอานฮุยประกอบขึ้นมาจากอาหารของแถบแม่น้ำเหยียน (沿江) แม่น้ำไฮว๋ (沿淮) และฮุยโจว (徽州) โดยจุดเด่นอยู่ที่การเลือกสรรวัตถุดิบที่เรียบง่าย พิถีพิถันในการใช้ไฟปรุงอาหาร นอกจากนี้ อาหารอานฮุยจะเน้นที่ความมันและสีสันของอาหาร และในส่วนรสชาติจะให้ความสำคัญกับการรักษารสชาติดั้งเดิมของตัววัตถุดิบเอาไว้ ส่วนวัตถุดิบหลักที่ใช้นำมาประกอบอาหารนั้น โดยมากจะใช้อาหารป่าและอาหารทะเล

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย