ชาที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน

ชาขาว 

ชาขาวคือชาที่ผลิตจากยอดอ่อนของต้นชา โดยการเลือกเก็บยอดอ่อนชาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นนำมาตากให้แห้งด้วยวิธีธรรมชาติอย่างรวดเร็ว ชาขาวจะไม่ผ่านการหมักใบชาเหมือนชาชนิดอื่นๆ ทำให้ชาขาวยังคงปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในใบชาได้มากกว่าชาชนิดอื่นๆ สรรพคุณของชาขาวจึงขึ้นชื่อในเรื่องการดื่มเพื่อต้านความแก่ชราก่อนวัย หรือการชะลอความแก่ อีกทั้งยังคงคุณค่าทางโภชนา รสชาติและกลิ่นของชาขาวมีความหอมนุ่มนวล ประเภทชาขาวที่มีคุณภาพดีที่สุดเรียกว่าชาขาวเข็มเงิน (Silver Needle) จะเก็บระหว่าง 15 มีนาคมถึง 10 เมษายนของทุกปี และจะต้องเก็บด้วยมือภายในระยะเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง แหล่งเพาะปลูกที่มณฑลฟูเจี้ยน ประเทศจีน

ชาเขียว 

ชาเขียวเก็บมาจากยอดอ่อนของชา โดยการนำไปอบแห้งทันที ไม่ผ่านการหมัก เพื่อไม่ให้ใบชาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับอ๊อกซิเจน ทำให้ได้ใบชาที่ยังมีสีเขียว มีรสชาติ สี และกลิ่นใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด สรรพคุณชาเขียวมีคุณสมบัตืต้านทานโรคได้หลายชนิด ชาเขียวแบ่งประเภทออกได้หลักๆ 2 ประเภทคือชาเขียวญี่ปุ่นซึ่งไม่ผ่านการคั่วและชาเขียวแบบจีนที่ผ่านการอบการคั่วด้วยกะทะร้อน

ชาดำ 

ชาดำเป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบูรณ์ด้วยวิธีการบ่มเพาะอาศัยแบคทีเรียเป็นตัวทำปฏิกิริยา ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ทำให้ใบชาหมักตัวได้อย่างเต็มที่ หากยิ่งป่มนานยิ่งได้รสชาติมากขึ้น สรรพคุณชาดำโดดเด่นในเรื่องช่วยการย่อยอาหาร ลดครอเลสเตอรอล และลดการดูดซึมไขมันในลำไส้ ชาดำหรือที่บ้านเรามักเรียกว่า ชาฝรั่ง ชาวตะวันตกนิยมชาชนิดนี้เป็นพิเศษ ชาดำที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อาทิเช่น ชาอัสสัม ชาซีลอน ชาดาจีลิ่ง ซึ่งมีแหล่งผลิตในประเทศอินเดียและศรีลังกาตามชื่อชานั่นเอง นอกจากนี้ยังนิยมนำมาผสมแต่งกลิ่นเป็นรสชาติใหม่ๆ อาทิ ชาเอริลเกรย์ (Earl Grey) ชาอิงลิชเบล็กฟาส (English Breakfast) ส่วนทางฝั่งตะวันออกชาดำที่มีชื่อเสียง อาทิเช่น ชาผู่เอ๋อ (Puer Tea) เป็นต้น

ชาแดง

ชาแดง (红茶) มากเป็นอันดับสองก็ต้องหงฉาหรือชาสีแดงชื่อก็มาจากน้ำชาสีแดงใบชาผ่านกระบวนการหมัก มีรสชาติเข้มข้นระดับกลาง กลิ่นน้ำชาไม่รุนแรง ชาประเภทนี้ได้แก่ ชาแดงกงฟู  ชาแดงอี๋ซิง

ชาเหลือง

ชาเหลือง (黄茶) ทำจากชาที่เปียกชื้นมาตากแห้ง รสชาติแตกต่างออกไป มีรสชาติกึ่งชาเขียวและชาขาว สรรพคุณสูง มีประวัติว่าเป็นชาสำหรับถวายฮ่องเต้ เพราะสีเหลืองคือสีของจักรพรรดิ

ชาหอม

ชาหอม (花茶) ซึ่งผ่านการผสมกับพวกดอกไม้มีกลิ่นหอม ได้แก่ ชาดอกมะลิ ชาดอกกุหลาบ ชาดอกกุ้ยฮัว เป็นต้น

ชาอู่หลง

ชาอู่หลงเป็นชาประเภทกึ่งหมักหรือชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอม และ รสชาติ อยู่ระหว่าง ชาเขียว และ ชาดำ โดยชาอู่หลงผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยการผึ่งแห้งใบชาด้วยแสงอาทิตย์เพื่อให้ใบชาคายน้ำ หลังจากนั้นทำไปผึ่งในที่ร่มภายใต้การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งเป็นการหมักใบชาเพียงบางส่วน จากนั้นนำมานวดอัดเป็นเม็ด ชาอู่หลงมีรสชาตินุ่ม และหอมมาก มีคุณสมบัติเด่นๆคือการช่วยดักจับไขมัน และควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากชาอู่หลงมีสารชนิดพิเศษที่เรียกว่า OTTPs ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นจากการหมักใบชามีส่วนช่วยลดการดูดซึมไขมันของรางกาย

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย