พิณเหลว

พิณเหลว

พิณหลิวเป็นเครื่องดนตรีประเภทพิณชนิดหนึ่ง เนื่องจากทำด้วยไม้หลิว และมีสัญฐานคล้าย ๆ กับใบหลิว จึงได้รับชื่อเรียกว่าพิณหลิวหรือ”พิณใบหลิว” สัณฐานและโครงสร้างของพิณหลิวเหมือนกับพิณโบราณของจีนมาก แรกเริ่มเดิมที พิณหลิวมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน และมีรูปร่างเรียนง่ายแบบพื้นเมือง ชาวบ้านจีนจึงเรียกว่า”ถู่ผีปะ”แปลว่า”พิณชาวบ้าน” พิณชาวบ้านชนิดนี้ใช้แพร่หลายในแถบมณฑลซันตง อันฮุยและเจียงซู เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบละครงิ้วท้องถิ่น

วิธีการบรรเลงพิณหลิวก็เหมือนกับการบรรเลงพิณผีผา ผู้บรรเลงต้องนั่งตัวตรง เอาพิณหลิววางเฉียงที่หน้าอก มือซ้ายถือคันพิณ ใช้นิ้วแม่มือและนิ้วชี้ของมือขวาจับเครื่องดีดดีดสายพิณ กิริยาท่าทางสุภาพงดงามน่าดู

เมื่อปลายปี 1958 นายหวังฮุยหยัน ตัวแทนช่างออกแบบของโรงงานผลิตเครื่องดนตรีเป็นตัวแทน ได้วิจัยและผลิตพิณหลิวที่มีสายพิณ 3 สาย อันเป็นพิณหลิวรุ่นใหม่รุ่นที่หนึ่ง เมื่อเทียบกับรุ่นเก่า รุ่นใหม่มีสายมากกว่าอีกสายหนึ่ง ปุ่มควบคุมเสียงก็เพิ่มจาก 7 อันมาเป็น 24 อัน ทำให้พิณหลิวรุ่นใหม่มีช่วงเสียงกว้างขึ้น และง่ายต่อการปรับเสียง ท่วงทำนองเสียงก็ใสขึ้นน่าฟังมากขึ้น ทศวรรษ 1970 นายหวังฮุ่ยหยันคิดค้นพิณหลิวรุ่นใหม่เป็นรุ่นที่ 2 ได้แก่พิณหลิวเสียงสูงที่มีสายพิณ 4 สาย ลักษณะต่างจากรุ่นที่ 1 ที่สำคัญคือ ใช้สายเหล็กกล้าแทนสายไหม มีส่วนช่วยให้สมรรถนะด้านต่าง ๆ ของพิณหลิวพัฒนาดีขึ้นมาก ต่อมา พิณหลิวซึ่งใช้เป็นเครื่องบรรเลงประกอบเป็นเวลานานกว่า 200 ปีก็กลายเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถบรรเลงเดี่ยวขึ้นใหม่

ปัจจุบัน พิณหลิวมีบทบาทสำคัญในการแสดงเครื่องดนตรีของจีน ในวงดุริยางค์ดนตรีพื้นเมือง พิณหลิวมีเสียงสูงในบรรดาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด มีลักษณะเสียงของตัวเอง ใช้บรรเลงท่วงทำนองตอนเสียงสูงบ่อยๆ นอกจากนั้น เสียงพิณหลิวคล้าย ๆ กับแมนโดลินเครื่องดนตรีของตะวันตก จึงเหมาะสำหรับบรรเลงพร้อมกับเครื่องดนตรีตะวันตกได้

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย