ท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการสัมภาษณ์

ท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการสัมภาษณ์ของนักข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน CCTV ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ

เมื่อไม่นานมานี้ ท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีน สถานการณ์ทางด้านวัฒนธรรม การดำเนินงาน พัฒนาการและปัญหาในศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ กับผู้สื่อข่าวจาก CCTV

โดยท่านวีระกล่าวว่า การแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์มิตรภาพไทย-จีน มีประวัติศาสตร์ยาวนานราว 700 ปี เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุโขทัยที่ทั้ง 2 ประเทศมีการไปมาหาสู่กัน วัฒนธรรมจีนจึงเริ่มเข้าสู่สังคมไทยตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา ในสมัยราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้มีการแปลนิยายเรื่อง สามก๊ก เป็นเรื่องแรก และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีการจัดสร้างพระราชวังบางประอินขึ้น โครงสร้างของพระราชวังบางปะอินส่วนใหญ่ใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมจีนในการก่อสร้างตัวอาคาร จวบจนถึงถึงสมัยรัชกาลที่ 9  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีการเรียนภาษาจีนและเผยแพร่วัฒนธรรมจีน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ประชาชนชาวไทย ถือเป็นตัวแทนทางการฑูตในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน เดือนเมษายนของปีนี้ ในระหว่างที่ท่านวีระไปเยือนประเทศจีน ท่านได้ร่วมลงนามกับ นายลั่ว ซู่กัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานของปี2015-2017 ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรมสาธารณะรัฐประชาชนจีนและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ต่อไปจะมีการส่งเสริมความร่วมมือ ทวิภาคี ในการศึกษา ศิลปะ อุตสาหกรรมวัฒนธรรม การคุ้มครอง มรดกทางวัฒนธรรม และด้านอื่น ๆ

เมื่อถามเกี่ยวกับ การดำเนินงาน และการพัฒนาของ ศูนย์วัฒนธรรม จีน ในกรุงเทพฯ เขากล่าวว่า การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ระหว่างสองประเทศ ถ้าแบ่งตามประเพณีดั้งเดิมสามารถแบ่งได้หลายระดับ ดังนี้ ราชวงศ์ รัฐบาล ภาคประชาสังคม การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีนขึ้นมา สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการสื่อสารและสร้างความร่วมมือ ถึงแม้ว่าศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีนจะตั้งแต่งขึ้นมาได้ไม่นาน แต่ตั้งแต่เปิดศูนย์วัฒนธรรมได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกระทรวงวัฒนธรรมไทย โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆขึ้นมามากมาย เช่น ระบำจีน งิ้ว นิทรรศการ การสอนภาษา จิตรกรรม พู่กันจีน เป็นต้น ทำให้คนไทยมีสถานที่ที่ดีที่ทุกคนจะได้เรียนรู้และเข้าใจถึงวัฒนธรรมจีน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ ท่านยังกล่าวอีกว่ามีหลายประเทศที่สร้างศูนย์วัฒนธรรม สถาบันฝึกอบรมภาษา ในประเทศไทย แต่พวกเขาส่วนใหญ่เน้นแต่ด้านการสอนภาษา ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเผยแพร่วัฒนธรรมโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับปีนี้ที่ทางเราจัดแสดงงิ้วขึ้นหลายครั้ง จึงได้รับความนิยมจากประชาชนชาวไทย

นอกจากนี้ ท่านยังแนะนำอีกว่าทางศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีนจะมีการจัดแสดงกิจกรรมศิลปะจีนร่วมสมัยและกิจกรรมวัฒนธรรม และยังแนะนำอีกว่าควรจัดกิจกรรมเผยแพร่วัฒนธรรมนอกสถานที่จะได้เผยแพร่วัฒนธรรมจีนได้ดียิ่งขึ้น

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย