“มนต์เสน่ห์แห่งตุนหวง” พบได้ที่กรุงเทพฯ นิทรรศการสัมผัสศิลปะเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมเมืองตุนหวง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ

“มนต์เสน่ห์แห่งตุนหวง” พบได้ที่กรุงเทพฯ นิทรรศการสัมผัสศิลปะเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมเมืองตุนหวง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยือนวัดโม่เกา เมืองตุนหวง มณฑลกานซู ถึง 2 ครั้งเมื่อปีพ.ศ.2533และปีพ.ศ.2548 และได้นำสิ่งที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นมาพระราชนิพนธ์เป็นหนังสือ《มุ่งไกลในรอยทราย》หนังสือพระราชนิพนธ์นี้เสมือนเป็นการแนะนำให้ชาวไทยได้รู้จักเมืองตุนหวงอันน่าพิศวงนี้เพิ่มมากขึ้น

เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมจีนให้เป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น และนำสิ่งล้ำค่าทางวัฒนธรรมในอดีตให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งผ่านการสร้างสรรค์ ต่อยอด และวิทยาการสมัยใหม่ ศูนย์การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศแห่งประเทศจีนสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจีน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และสถาบันวิจัยเมืองตุนหวง จึงร่วมกันจัดงาน “มนต์เสน่ห์แห่งตุนหวง–นิทรรศการสัมผัสศิลปะเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมเมืองตุนหวง” ในบ่ายวันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ กิจกรรมครั้งนี้ดึงดูดผู้ชมจากทั้งประเทศไทย และจีน รวมไปถึงผู้สนใจในวัฒนธรรมตุนหวง ในการนี้ คุณสหัส บัณฑิตกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีประเทศไทย, คุณหลันซู่หง อุปฑูตฝ่ายวัฒนธรรมสถานเอกอัคราชฑูตจีน ประจำประเทศไทย และผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ, ดร.ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน, คุณเฉินไห่เทา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเมืองตุนหวง สื่อจากประเทศไทยและจีน และผู้ร่วมชมงานร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดในครั้งนี้

คุณหลันซู่หง กล่าวว่า เสียงกระดิ่งอูฐดังก้องท่ามกลางทะเลทรายอันกว้างใหญ่ เมื่อกว่า2,000 ปี ที่แล้ว เริ่มต้นจากเมือง ฉางอัน แห่งราชวงศ์ถัง มุ่งไปยังตะวันตก เส้นทางสายไหมเริ่มกลายเป็นเส้นทางแห่งการแลกเปลี่ยนอารยธรรมของโลก ตุนหวงเป็นหนึ่งในจุดพักที่สำคัญบนเส้นทางสายไหม และเป็นจุดสำคัญของการบรรจบกันระหว่างวัฒนธรรมตะวันออก และตะวันตก

คุณเฉินไห่เทา กล่าวว่า มิตรภาพอันดีของประเทศไทยและจีนมีมาอย่างยาวนาน และพุทธศาสนา ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของทั้ง2ประเทศ คุณเฉินไห่เทาหวังว่า นิทรรศการครั้งนี้ จะนำผู้ชมย้อยกลับไปยังอดีต และยังมุ่งสู่อนาคต โดยให้ “ดอกบัวของพระพุทธเจ้า” เป็นสายใยเชื่อมต่อความรู้สึกของประชาชนของทั้ง2ประเทศ

นิทรรศการครั้งนี้นำเสนอ 3 จุดเด่นที่น่าสนใจ คือในช่วงก่อนการจัดนิทรรศการได้มีการส่งแบบสอบถามให้กับหน่วยงานด้านศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมไทย และกลุ่มผู้สนใจในศิลปะตุนหวง เพื่อช่วยในการวางแผนการนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะกับความสนใจของคนไทย

จุดเด่นประการที่สอง คือ นิทรรศการนี้ยังให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ ผ่าน3ส่วนของของนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วย “เมตตาธรรมค้ำจุนโลก” “สติปัญญาสามารถสื่อสารได้” และ “ความงามนำไปสู่ความสำเร็จ” นอกจากนี้ยังมีการจำลองถ้ำโม่เกาที่ 254 มาจัดแสดง ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน อีกด้วย โดยมีผู้บรรยายนำชมศิลปะทางประวัติศาสตร์แห่งถ้ำโม่เก่าที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี ภายในถ้ำจำลอง ได้มีการฉายวีดิโอ ภาพศิลปะแห่งตุนหวง ได้แก่ 《สื่อเซินเซ่อหู่》และ《ภาพพระพุทธเจ้าปราบมาร》โดยเป็นการรวบรวมค่านิยมของศิลปะตุนหวงไว้ในภาพถ่าย ถ่ายทอดให้ผู้ชมได้เข้าใจถึงวัฒนธรรมเมืองตุนหวงได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น นิทรรศการถ้ำจำลองนี้ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากผู้ชมชาวไทย

จุดเด่นประการสุดท้าย คือ สถาบันวิจัยเมืองตุนหวง นอกจากจะนำเสนอประวัติและความหมายที่ซ่อนอยู่ภายในศิลปะตุนหวงแล้ว ยังแสดงพับ “ดอกบัวพับมือ” โดยใช้ประดาษสี่เหลี่ยมจตุรัสธรรมดา นำมาพับจนกลายเป็น ดอกบัว ที่งดงามอย่างมาก เรียกเสียงฮือฮาจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก ผู้ชมบางส่วนเสนอความคิดว่าให้นำ ดอกบัวกระดาษ ไปลอยในสระบัวของศูนย์วัฒนธรรม เสมือนการลอยกระทง ในเทศกาลลอยกระทงของไทย

นับตั้งแต่มีพิธีเปิดนิทรรศการ วัฒนธรรมตุนหวงกลายเป็นที่สนใจของชาวไทยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงบน Facebook และ we Chat ทั้งภาษาไทยและภาษาจีน เสมือนสายลมแห่งวัฒนธรรมตุนหวง ได้พัดพามายังประเทศไทยแล้ว ในอนาคต ศิลปะเชิงสร้างสรรค์เหล่านี้จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจะกลายเป็นประตูที่เชื่อมสู่ตุนหวง ทำให้วัฒนธรรมตุนหวงที่เก่าแก่กว่าพันปีได้คงอยู่ตราบนานเท่านาน

สำนักข่าว INN News, หนังสือพิมพ์ 《จงหวารื่อเป้า》, 《ซื่อเจี้ยรื่อเป้า》,ช่องTCITV, เวปไซต์ taiguo.com, ไชนาเรดิโออินเตอร์เนชันแนล, China News Service, เวปไซต์ people.com.cn, เวปไซต์ วีแชท และ เฟซบุ๊ก ของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพ ได้รายงานกิจกรรมที่จัดขึ้นพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นชื่นชม

นิทรรศการนี้จะยังคงจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2561

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย