บอกเล่าอดีตถึงปัจจุบัน ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน —— จีน-ไทย สำรวจอารยธรรมซานซิงตุยออนไลน์

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ร่วมกับสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเสฉวน กรมมรดกทางวัฒนธรรมเสฉวน และพิพิธภัณฑ์โบราณคดีซานซิงตุยจัดงานบรรยายออนไลน์ “อารยธรรมฉู่โบราณ ซานซิงตุยอันรุ่งโรจน์” ณ มหาวิทยาศิลปากร โดยงานบรรยายครั้งนี้ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทางโบราณคดีจากจีนและไทยมาร่วมการเสวนาแลกเปลี่ยนในด้านอารยธรรมและโบราณคดี เพื่อถอดรหัสอารยธรรมของอาณาจักรฉู่โบราณ  ผ่านการถ่ายทอดสดทางออนไลน์และออฟไลน์

โปสเตอร์งานบรรยาย “ก้าวเข้าสู่ซานซิงตุย”

นายเหลยอวี่ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์โบราณคดีซานซิงตุยได้กล่าวแนะนำประวัติการพัฒนาทางโบราณคดีและความสำเร็จของแหล่งโบราณคดีซานซิงตุย ผ่านการบรรยายในหัวข้อ “ก้าวเข้าสู่ซานซิงตุย” เผยให้เห็นโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกขุดค้นพบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาทิ หน้ากากทองสัมฤทธิ์ ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ วงล้อดวงอาทิตย์ เครื่องหยกเปียจาง เป็นต้น ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับความลับของอารยธรรมฉู่โบราณ ทั้งตัวอักษรที่ใช้ในซานซิงตุย หลุมเซ่นไหว้ โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมและอื่นๆ ตั้งแต่รูปปั้นทองสัมฤทธิ์ หน้ากากทองคำสัมฤทธิ์ซานซิงตุย ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมอันหลากหลายงดงาม เป็นการบรรยายเชิงวิชาการที่มีชีวิตชีวาและมีความน่าสนใจ

แขกผู้มีเกียรติจีน-ไทย ร่วมถ่ายภาพ

นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนางสาวสุภมาศ ดวงสกุล นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กองโบราณคดีร่วมกันบรรยายในหัวข้อ “การจัดการคุ้มครองแหล่งโบราณคดีของประเทศไทย” โดยได้กล่าวแนะนำนโยบายและแผนการดำเนินงานของกรมศิลปากรและ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติว่าด้วยการจัดการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมและโบราณวัตถุทางวัฒนธรรม โดยยกตัวอย่าง การจัดการแหล่งโบราณสถานทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุพรรณบุรี แนะนำประสบการณ์การปฏิบัติงานและความสำเร็จในการขุดค้น วิจัย คุ้มครองและฟื้นฟูโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของประเทศไทย รวมถึงการจัดค่ายฤดูร้อนทางโบราณคดีให้กับนักเรียน และการพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมต่างๆ

บรรยากาศของงานที่มหาวิทยาลัยศิลปากร

นางฉาง อวี่เหมิง ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวบรรยายในหัวข้อ “การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมจีนกับความร่วมมือจีน-ไทยยุคใหม่” โดยเริ่มต้นจากแหล่งโบราณคดีซานซิงตุย แนะนำการพัฒนาที่ก้าวหน้าของการคุ้มครองมรดกทางโบราณคดีและวัฒนธรรมของจีนในช่วงตลอด 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งกล่าวว่า ประเทศจีนและไทยมีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือที่ดีต่อกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ ประเทศจีนและไทยจะร่วมกันจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ นิทรรศการ ความร่วมมือทางโบราณคดี ฯลฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม กระชับมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประชาชนสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

บรรยากาศของงานที่กรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเสฉวน

นายเชว่ เสี่ยวหัว ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ กล่าวในสุนทรพจน์ว่ามรดกทางวัฒนธรรมเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของความสำเร็จทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศและชนชาติ เป็นความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมร่วมกันของมนุษยชาติ รัฐบาลจีนและไทยต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม หวังว่างานบรรยายครั้งนี้จะทำให้ประชาชนคนไทยได้รู้จักและเข้าใจวัฒนธรรมซานซิงตุยและประเทศจีนมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีและโบราณวัตถุของทั้งสองประเทศได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมการมีบทบาทสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ

บรรยากาศของงานที่มหาวิทยาลัยรามคำแห

ในตอนท้าย ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากจีนและไทยได้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับที่มาและความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมซานซิงตุย รวมถึงเทคนิคที่ใช้การทำโบราณวัตถุและอีกหลากหลายหัวข้อ

งานในครั้งนี้จัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 10 ปีการก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และเป็นปีที่ศูนย์วัฒนธรรมจีนฯ ทำความร่วมมือกับกรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเสฉวน ภายในงานได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากจีนและไทย รวมถึงคณะอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกริกเดินทางมาร่วมงานจำนวน 160 คน และผู้ชมผ่านการถ่ายทอดสดมียอดชมกว่า 1500 ครั้ง

 

 

B

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย