ในรอบหนึ่งปี จะมีเทศกาลสําคัญของชาวจีนอยู่ 4 เทศกาล ได้แก่ เทศกาลตรุษจีน ไหว้บ๊ะจ่าง สารทจีน และไหว้พระจันทร์ ในบรรดาเทศกาลเหล่านี้ที่นับว่าสําคัญและครึกครื้นที่สุดเห็นจะเป็นเทศกาลตรุษจีน
พอถึงเทศกาลตรุษจีน คนในบ้านจะรวมกลุ่มสังสรรค์กันในอาหารเย็นมื้อสุดท้ายของปี มีความพิถีพิถันในการรับประทานอาหาร แม้ว่าแต่ละมณฑลจะต่างประเพณี แต่อย่างไรบนมื้ออาหารอย่าง “ปลา” ที่แฝงความหมายว่า มีเงิน ทอง และสิ่งของมากมายใช้ไม่หมด “ขนมเค้กข้าว” ได้รับการเลื่อนขั้นสูงขึ้นไปทุกๆ ปี “ส้ม” ถือเป็นสิ่งมงคล “เม็ดบัว” สื่อถึงการมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง อาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกบ้านขาดไม่ได้ นอกจากนี้ คนภาคเหนือชอบรับประทาน “เกี๊ยว” เพราะลักษณะของเกี๊ยวคล้ายเงินจีนโบราณ จึงแสดงถึง เงินทองไหลมาเทมา คนเซี่ยงไฮ้จะทาน “ถั่วลิสง” เพราะความหมายของเปลือกถั่วลิสงแสดงถึงการมีชีวิตยืนยาว คนกวางตุ้งจะชอบ “สาหร่ายดำคล้ายเส้นผม” สื่อถึงความร่ำรวย โดยรายชื่ออาหารล้วนมีความหมายดีๆ ซ่อนไว้
ในวันสุดท้ายของปี พอทํางานทุกอย่างเสร็จสิ้น ทุกคนก็จะปิดประตูบ้าน และใช้กระดาษสีแดงที่เป็นสัญลักษณ์แทนความโชคดีปิดไว้ที่หน้าประตู เพื่อมิให้ความโชคดีหนีออกไป คนในบ้านก็จะร่วมกันไหว้เจ้า เซ่นไหว้บรรพบุรุษ อวยพรปีใหม่แด่พ่อแม่และผู้ใหญ่ หลังจากอวยพรเสร็จแล้ว ทุกคนก็กินและดื่มกันอย่างสนุกสนานรื่นเริง เด็กๆ จะดีใจกันเป็นพิเศษ เพราะในกระเป๋าของพวกเขาเต็มไปด้วยเงินแต๊ะเอียที่ผู้ใหญ่ให้มา นอกจากนี้ชาวจีนเชื่อกันว่าผีกลัวเสียงดัง ดังนั้นตอนกลางคืนทุกบ้านจะจุดประทัด เพื่อขับไล่ไม่ให้ผีกล้าเข้ามาในบ้าน
วันแรกของวันขึ้นปีใหม่ ถือเป็นวันพักผ่อนประจําปี หลังจากที่ทุกคนเหน็ดเหนื่อยกันมาตลอดปี ในวันนี้จะห้ามกวาดพื้น เพราะเชื่อกันว่าเป็นการป้องกันไม่ให้เงินถูกกวาดออกไป ห้ามใช้มีด ที่เชื่อว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทกัน ห้ามทํางาน หากต้องทํางานหนักในวันนี้ ปีใหม่ที่จะมาถึง จะต้องทํางานหนักและลําบากไปตลอดทั้งปี
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจากกิจกรรมเทศกาลตรุษจีนดั้งเดิม ชาวจีนยังใช้วิถีชีวิตแนวใหม่ เช่น การท่องเที่ยว ปลูกต้นไม้ ดูหนัง ในปีแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย ด้วยวิวัฒนาการของยุคสมัย ปัจจุบันทุกสิ่งค่อยๆดำเนินเข้าไปสู่วิถีชีวิตที่เรียบง่ายมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง:http://old-book.ru.ac.th/e-book/c/CN202/chapter3.pdf