เส้นทางชาหมื่นลี้

จีน ประเทศแห่งต้นกำเนิดใบชา ทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ มีการส่งออกใบชามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 และต่อมาในศตวรรษที่ 17 ใบชาถือเป็นสินค้าส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในราชวงศ์ชิง ซึ่งมีประเทศรัสเซียเป็นดั่งสะพานเชื่อมระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับยุโรป ไม่เพียงแต่เป็นประเทศผู้บริโภคชารายใหญ่เท่านั้น ยังผูกขาดซื้อขายชาจีนในตลาดยุโรป ถือเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เส้นทางชาหมื่นลี้จีน-รัสเซียเจริญรุ่งเรืองในสมัยศตวรรษที่ 17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากเส้นทางสายไหม เส้นทางนี้ก็เป็นเส้นทางการค้าระหว่างประเทศอีกเส้นทางหนึ่งที่จีนใช้เชื่อมต่อกับฝั่งยุโรป

เส้นทางชาหมื่นลี้ ใช้การค้าใบชาเป็นจุดเริ่มต้นของช่องทางเศรษฐกิจ ยังเป็นเส้นทางวัฒนธรรมที่สำคัญอีกเส้นทางหนึ่งในการแลกเปลี่ยนอารยธรรมจีน-ยุโรป เริ่มต้นจากเขาอู่อี่ซานแห่งมณฑลฝูเจี้ยน ไปสิ้นสุดที่เมืองหลวงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซีย เป็นช่องทางระหว่างจีน มองโกเลีย และรัสเซียในปัจจุบัน เส้นทางชาหมื่นลี้ ที่เชื่อมต่อจีน-รัสเซียนี้ มีอิทธิพลมากต่อการค้า วัฒนธรรม อุตสหกรรม สถาปัตยกรรม วิถีชีวิต และศาสนาของคนในพื้นที่ต่างๆ ตลอดเส้นทาง

เมื่อประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ไปเยือนรัสเซียในปี 2014 ในสุนทรพจน์ของสถาบันความสัมพันธ์นานาชาติมอสโก ได้ชี้ให้เห็นถึง “เส้นทางชาหมื่นลี้” เป็นเส้นทางติดต่อ “สายหลักแห่งศตวรรษ” ที่เชื่อมระหว่างจีนและรัสเซีย ภายใต้โครงการ “เส้นทางสายไหม” ของจีน ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และมนุษย์ เน้นย้ำถึงคุณค่าของวัฒนธรรมที่สำคัญ ทำให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจระหว่างจีน มองโกเลีย และรัสเซีย แม้แต่ประเทศที่อยู่ในแถบเส้นทางของจีนและยุโรปในยุคใหม่

T

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย