สี่สิ่งล้ำค่าในห้องหนังสือจีน

สี่สิ่งล้ำค่าในห้องหนังสือจีน

ข้าวของเครื่องใช้ของชาวฮั่น มีหลายอย่างที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างชาวฮั่นกับชนเผ่าอื่นๆ เป็นคุณต่อความก้าวหน้าและการพัฒนาวัฒนธรรมของโลกด้วย ที่โดดเด่นที่สุด น่าจะคือ “เหวินฝางสื่อเป่า” หมายถึงเครื่องเขียน 4 อย่าง ได้แก่ กระดาษ พู่กันจีน หมึกและที่ฝนหมึก

      1.กระดาษ เป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นอันยิ่งใหญ่ของชาวฮั่น แม้ว่าโลกนี้มีกระดาษนานาชนิด แต่กระดาษที่เรียกว่า “ซวนจื่อ”นั้น ยังคงเป็นกระดาษที่เป็นหัตถกรรมพิเศษที่สำหรับเขียนพู่กันจีน โดยมีเนื้อกระดาษอ่อนนุ่ม สีขาวเรียบ ทนทาน และซึมน้ำ มีคำกล่าวเรียกทางสากลว่า เป็นกระดาษพันปี

     2.พู่กันจีน เป็นเครื่องเขียนและใช้วาดภาพของชาวฮั่นจีน ซึ่งมีความแตกต่างกับปากกาที่ทำจากขนนกของพวกฝรั่ง แม้ว่าโลกปัจจุบันจะนิยมใช้ดินสอ ปากกาและปากหมึกซึม แต่พู่กันจีนยังคงเป็นเครื่องเขียนที่ไม่มีสิ่งใดทดแทนได้

     3.หมึก เป็นของใช้สำหรับเขียนอักษรและวาดภาพ เล่ากันว่า ในสมัยราชวงศ์ถัง มีพ่อลูกสองคนชื่อซีเชาและซีถิง เป็นช่างทำหมึกที่ฝีมือดี เป็นที่ทรงโปรดของกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ถัง ดยพระราชทานนามสกุล “แซ่ลี้”ให้กับพ่อลูกนี้ทั้งตระกูล ซึ่งเป็นแซ่ของกษัตริย์เอง จากนั้นมา จึงมียี่ห้อ “หลี่ม่อ” หรือแปลว่า “หมึกบ้านตระกูลหลี่” ขึ้นชื่อทั่วประเทศ (แซ่ลี้ หรือ แซ่หลี่ เป็นแซ่เดียวกัน)

     4.เยี่ยน หรือเรียกกันว่า เยี่ยนถัย เป็นที่ฝนหมึก หรือจานหมึก เป็นอุปกรณ์สำหรับฝนหมึกและสีอื่นๆ การใช้ที่ฝนหมึกเป็นที่แพร่หลายในสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้กันอย่างกว้างขวางในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีความหลากหลายในสมัยราชวงศ์หมิงกับชิง นักวิชาการและกวีชาวฮั่นในสมัยโบราณให้ความสำคัญกับที่ฝนหมึกเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่จะพกติดตัวตลอดเวลาเท่านั้น หากยังเป็นของที่จะฝังในสุสานเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว

     เหวินฝางซื่อเป่า หรือ เครื่องเขียน 4 อย่าง แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวฮั่น และมีความโดดเด่นในวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมชนชาติ ปัจจุบัน แม้ว่าจีนกำลังก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ แต่วัฒนธรรมโบราณก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเป็นแรงขับเคลื่อนวัฒนธรรมสมัยใหม่ในอนาคต

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย