สัปดาห์การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจีน” งานออกแบบอันชาญฉลาด——การกำเนิดใหม่ของกระดาษตามรอยหาอดีตกับ “กระดาษแห่งฝนและป่า” ของชนเผ่าไต
.
กระดาษเป็นหนึ่งสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ การผลิตกระดาษถือเป็นหนึ่งในสี่สิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของจีน ในครั้งนี้ขอเชิญไปร่วมตามรอยค้นหา“ก๋าลาซา”เทคนิคการผลิตกระดาษที่เก่าแก่ที่สุดของสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน
.
งานฝีมือแบบดั้งเดิมเปล่งประกายแสงแห่งชีวิตขึ้นใหม่ได้อย่างไร
สิบสองปันนามีการอนุรักษ์ต้นปอสาในป่าฝนเขตร้อนเอาไว้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหนึ่งเดียวที่ใช้ในการทำกระดาษของชนเผ่าไต โดยจะใช้เปลือกของต้นปอสาที่เกิดในธรรมชาติ นำมาทุบตีให้เป็นเส้นไย จากนั้นก็ผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ ด้วยมือจนกลายเป็นกระดาษของชนเผ่าไต ซึ่งกรรมวิธีการทำกระดาษจากต้นปอสานี้ตรงกับใน“ตำราฉีเหมินเย่าซู่”หนังสือเกษตรกรรมที่เขียนโดยเจี่ยซือเสีย ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรมในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ อย่างไม่มีผิดเพี้ยน
.
ใช้กระดาษ“ก๋าลาซา”ในการคัดลอกคัมภีร์บทสวดทางพระพุทธศาสนา ซึ่งตัวอักษรที่เขียนบนกระดาษนี้จะไม่วันจางหาย แม้จะเก็บรักษาไว้มานานนับร้อยปีแต่ยังคงดูเหมือนใหม่ ใช้กระดาษ“ก๋าลาซา”มาใช้ในการทำโคมไฟ เมื่อถึงวันเทศกาลก็จะนำเอาความมงคลและความปรารถนาอันดีงามลอยขึ้นไปสู่ฟ้าเบื้องบน
.
เมื่ออุตสาหกรรมการผลิตกระดาษในปัจจุบันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การผลิตกระดาษของชนเผ่าไตกำลังเผชิญกับวิกฤตการถูกลืมเลือนหายไป แต่อย่างไรก็ตาม ศิลปะการทำกระดาษด้วยมือของชนเผ่าไต ก็เป็นเสมือนตัวแทนการแสดงความเคารพที่มีต่อธรรมชาติ รวมถึงยีนทางระบบนิเวศและอารยธรรมของมนุษย์ที่มีต่อป่าฝนเขตร้อนผืนนี้ กระดาษของชนเผ่าไตจึงเต็มเปี่ยมไปด้วยความหมายของความเคารพและจิตวิญญาณ
.
ด้วยความตั้งใจจริงของช่างฝีมือ ได้เติมเต็มความปรารถนาของผู้คนที่จะอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไว้
แล้วจะอนุรักษ์การผลิตกระดาษดั้งเดิมเช่นนี้ไว้ได้อย่างไร? ปี 2017 ช่างฝีมือทำกระดาษ นักออกแบบ อาสาสมัคร และอาจารย์นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้เดินทางมายังหมู่บ้านม่านจ้าว เพื่อคิดค้นหาวิธีการออกแบบวัฒนธรรมการทำกระดาษของชนเผ่าไตในรูปแบบใหม่ ในที่สุดนักสร้างสรรค์จำนวน 18 คน ได้ส่งผลงานการออกแบบ กระดาษของชนเผ่าไตถือกำเนิดขึ้นใหม่ในรูปโฉมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ศิลปินได้ทำการเปลี่ยนแปลงกระดาษ ในขณะเดียวกันกระดาษก็ได้ชักนำพวกเขาเหล่านี้เช่นกัน เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้กรรมวิธีการทำกระดาษของชนเผ่าไต ได้รับการสืบทอดและได้พลังในการถือกำเนิดขึ้นใหม่อีกครั้ง
.
การอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีที่สุด คือการนำวัฒนธรรมเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่วิถีชีวิตของมนุษย์ ตลาดชาผูเอ่อร์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีส่วนช่วยอย่างมากในการส่งเสริมการพัฒนาการทำกระดาษด้วยมือแบบดั้งเดิมของชนเผ่าไต ปัจจุบันกระดาษของชนเผ่าหลัก ๆ จะนำมาใช้ในการต้มชาผู่เอ่อร์ การทำร่มกระดาษ โคมไฟ วาดภาพ สมุดบันทึก และถุงกระดาษรักษ์โลก รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางศิลปะอื่นๆ