ลี่เซี่ย จุดเริ่มต้นฤดูร้อน

“ลี่เซี่ย” อยู่ในลำดับ 7 ของ “24 ฤดูกาลจีน” วันที่ 5 หรือวันที่ 6 เดือนพฤษภาคมของทุกปี เวลานี้ พืชพันธุ์ 🌿🌳 ที่เพาะปลูกในช่วงฤดูใบไม้ผลิเริ่มเจริญเติบโต ลี่เซี่ยมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของพืชการเกษตร 🍎 🍍 อย่างมาก พืชพันธุ์และสัตว์ป่า 🦁 🐦จะเข้าสู่ระยะเติบโตได้ดี

สมัยยุคปลายจ้านกว๋อ ประเทศจีนได้กำหนดฤดูกาล “ลี่เซี่ย” ขึ้นมา เป็นสัญลักษณ์ของจุดเริ่มต้นฤดูร้อน 🌞 คำว่า “เซี่ย” แปลว่า “ใหญ่” ในสมัยโบราณของจีน ลี่เซี่ย ถือเป็นเทศกาลสำคัญ เรียกว่า เทศกาลลี่เซี่ย ในวันนี้ฮ่องเต้ 👑 จะนำขุนนางชั้นสูงเสด็จไปชานเมืองทางใต้ของเมืองหลวงเพื่อจัดพิธีต้อนรับฤดูร้อน ☀️ ฮ่องเต้จะจัดพิธีชิมธัญพืช 🥜🥜🥜 ที่เก็บเกี่ยวใหม่ ขอพรให้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ 🥕🍒 หลังจากเสร็จพิธี ยังพระราชทานรางวัล 🏆🏆 ให้แก่เหล่าขุนนาง บรรเลงดนตรีพิธี 🎼 🎹 และส่งขุนนางไปสอดส่องชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นตัวแทนฮ่องเต้ในการบำรุงขวัญให้กำลังใจแก่เกษตรกร 👩‍🔧👨‍🔧 ทั่วกัน

ในเทศกาลลี่เซี่ยมีประเพณีปฏิบัติดังเช่น การกินไข่ 🥚🥚 การชั่งน้ำหนัก การชิมของใหม่ 3 อย่าง การแต่งงานหนอน เป็นต้น การกินไข่ลี่เซี่ย 🥚🥚 เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ผู้คนมักจะใช้ใบชาและเปลือกผลวอลนัท 🥜🥜 ในการต้มไข่ 🐣🐥 “ไข่ลี่เซี่ย” นอกจากจะนำมารับประทานแล้ว ยังมีการเลือกเอาไข่ฟองที่สมบูรณ์มาใช้ด้ายหลากสีสันถักทอเป็นถุงห่อไข่ แขวนไว้ที่คอของเด็กๆ หรือแขวนไว้บนมุ้ง โดยจีนมีคำกล่าวที่ว่า “เทศกาลลี่เซี่ยกินไข่ต้ม 🥚🥚 กำลังวังชาเพิ่มขึ้นเป็นกอง” 🏋️‍♀️🏋️‍♂️

การชั่งน้ำหนัก ในประเพณีจีนดั้งเดิมผู้คนจะมีการกล่าวคำอวยพรให้โชคดีไปพร้อมกับขณะที่ชั่งน้ำหนัก

การชิมของสดใหม่ 3 อย่าง เป็นประเพณีปฏิบัติในเทศกาลลี่เซี่ยของชาวฮั่น ซึ่ง “การกินของสดใหม่ 3 อย่าง” ในบางพื้นที่หมายถึงเชอร์รี่ 🍒ลูกพลัม 🍊 ข้าวสาลี่ 🍙 บางพื้นที่หมายถึงหอยโข่ง ผักจี้ไช่ ผักกาดหอม 🥬 ไข่เค็ม 🥚 เป็นต้น โดยในเทศกาลลี่เซี่ยผู้คนจะนำ “ของสดใหม่ 3 อย่าง” นี้มาเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษก่อน แล้วจึงนำมารับประทาน

การแต่งงานหนอน 🐛 บ้างก็เรียกว่า “เทศกาลบูชาแม่ย่า” เป็นประเพณีดั้งเดิมในมณฑลเสฉวน โดยในเทศกาลวันนี้ผู้คนจะใช้การตัดกระดาษทำเป็น “ที่หนีบตัวหนอน” 🐛 และใช้กระดาษสีแดงทำเป็น “ชั้นตัวหนอน” 🐛 ในลักษณะเลขสิบจีน ด้านบนเขียนคำสาปแช่งต่างๆ ติดกลับหัวไว้บนชั้นหรือบนคาน ขอพรให้บรรดาหนอน 🐛 ไม่มาทำลายพืชผลการเกษตร 🥬

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย