เทศกาลเช็งเม้ง

🏔เทศกาลเช็งเม้ง เป็นช่วงเวลาของสายลมแห่งฤดูใบไม้ผลิ เป็นเทศกาลเก่าแก่ดั้งเดิมของประเทศจีน เป็น 1 ใน 24 ฤดูกาลตามจันทรคติของจีน เช็งเม้ง มีความหมายว่า สะอาดบริสุทธิ์และแจ่มใส ตรงกับช่วงวันที่ 4-6 เมษายนของทุกปี
.
🇨🇳ในสายตาของคนสมัยโบราณ เช็งเม้งไม่ใช่เทศกาลที่จมอยู่กับความเศร้าโศกเท่านั้น แต่หมายถึงความมีพลัง ความมีชีวิตชีวา ความหวังและการเติบโตของฤดูใบไม้ผลิ ดังนั้นในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง ผู้คนจะระลึกถึงญาติมิตรที่เสียชีวิตไปแล้ว ระลึกถึงผู้พลีชีพจากการปฏิวัติ ในขณะเดียวก็จะมีประเพณีต่าง ๆ เช่น การทำความสะอาดสุสานบรรพบุรุษ การออกไปเที่ยวนอกบ้าน (การท่องเที่ยวในช่วงฤดูใบไม้ผลิ) การโล้ชิงช้า การเล่นว่าว การกินไข่ การปลูกต้นไม้ และการเหน็บกิ่งต้นหลิ่วไว้ในบ้าน เป็นการขอบคุณและระลึกถึงญาติ ครอบครัว และเสริมสร้างสุขภาพจิตใจที่แข็งแรง
.
🍀ฤดูใบไม้ผลิคือการเกิดใหม่ของชีวิตในทุก ๆ ปี ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ชาวจีนจะระลึกถึงบรรพบุรุษของตน กานซู่เป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีน ช่วงฤดูใบไม้ผลิจะจัดพิธีสักการะบูชาและอธิษฐานขึ้นที่นี่ โดยมีพิธีสักการะฝูซี ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
.
🍂พิธีสักการะฝูซีในเทียนสุ่ย มณฑลกานซู่ มีประวัติยาวนานกว่า 2,000 ปี ฝูซีเป็นบรรพบุรุษแห่งอารยธรรมจีน โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็น “จักรพรรดิองค์แรกในสามองค์จักรพรรดิ” และ “กษัตริย์องค์แรกในร้อยองค์” ตามตำนาน เทียนสุ่ย มณฑลกานซู่ เป็นบ้านเกิดของฝูซี ประวัติความเป็นมาของการสักการะฝูซี สามารถย้อนกลับไปได้ในช่วงยุคชุนชิว ซึ่งนับตั้งแต่การบูรณะในปี 1988 จนถึงปัจจุบันได้จัดงานสักการะขึ้นทั้งหมด 32 ครั้ง ได้กลายเป็นพิธีสำคัญสำหรับลูกหลานของพระเจ้าหวงและพระเจ้าเหยียน (ชาวจีนเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวจีน) ในการไปพิธีการสักการะบรรพบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขา
.
🐭ปี 2020 (ปีชวด) พิธีรำลึกถึงฝูซี บรรพบุรุษแห่งอารยธรรมจีน จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่ลานวัดฝูซี ในเมืองเทียนสุ่ย พิธีนี้มีการตีกลองตีระฆัง การอ่านข้อความบวงสรวง และการโค้งคำนับจากบุคคลทั้งหมดในสถานที่ หลังจากนั้นพวกเขาจะเข้าไปในวัดฝูซีทีละคน เพื่อมอบกระเช้าดอกไม้ให้กับรูปปั้นฝูซี สักการะรูปปั้นฝูซี และชื่นชมคุณธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของฝูซี

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย