หญิงงาม ไซซี

หญิงงาม ไซซี

เกิดประมาณ ค.ศ. 506 ก่อนคริสตกาลซึ่งตรงกับยุคชุนชิว ที่มณฑลเจ้อเจียง ในรัฐเยว่ (State of Yue) ไซซีได้รับฉายานามว่า “มัจฉาจมวารี” ซึ่งหมายถึง “ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ” (so beautiful as to make swimming fish sink)

ในยุคเลียดก๊กที่แต่ละรัฐรบกันนั้น รัฐอู๋เป็นรัฐที่มีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งจึงสามารถรบชนะรัฐเยว่และจับตัวเยว่อ๋องโกวเจี้ยน และอัครเสนาบดีฟ่านหลีไปเป็นตัวประกันที่รัฐอู๋ด้วย เยว่อ๋องโกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้นเพื่อกู้ชาติแต่จำต้องยอมจงรักภักดีเพื่อให้อู๋อ๋องไว้ใจ

   ครั้งหนึ่งอู๋อ๋องเกิดมีอาการปวดท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายไม่สามารถให้การรักษาได้ เยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้ชิมอุจจาระของอู๋อ๋องต่อหน้าเสนาธิการทั้งปวง และบอกว่าอู๋อ๋องเพียงแค่มีพระวรกายที่เย็นเกินไป หากได้ดื่มสุราและทำร่างกายให้อบอุ่นขึ้นก็จะมีอาการดีขึ้นเอง และเมื่ออู๋อ๋องได้ทำตามก็หายประชวร อู๋อ๋องเห็นว่าเยว่อ๋องโกวเจี้ยนมีความจงรักภักดีจึงปล่อยตัวกลับคืนสู่รัฐเยว่ เมื่อกลับสู่รัฐเยว่ เยว่อ๋องโกวเจี๋ยนก็วางแผนที่จะกู้ชาติทันที โดยมีฟ่านหลี่เป็นอำมาตย์คอยให้คำปรึกษา ฟ่านหลี่ได้เสนอแผนการสามอย่าง คือ ฝึกฝนกองกำลังทหาร พัฒนาด้านกสิกรรม และ ส่งสาวงามไปเป็นเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้ ไซซีเป็นหญิงสาวชาวบ้าน

ลูกสาวคนตัดฟืนที่เขาจู้หลัวซาน (ภาษาแต้จิ๋ว กิวล่อซัว) นางถูกพบครั้งแรกขณะซักผ้าริมลำธาร นางมีหน้าตางดงามมาก พร้อมกับนางเจิ้งตัน (แต้ตัน) ซึ่งมีความงามไม่แพ้กัน ฟ่านหลี่ (เถาจูกง) เสนาบดีรัฐเยว่เป็นผู้ดูแลอบรมนางทั้ง 2 ให้มีอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง เป็นเวลานานถึง 3 ปี เพื่อที่จะไปเป็นบรรณาการให้กับรัฐอู่ เพื่อมอมเมาให้อู่อ๋องฟูซา เจ้านครรัฐอู่ ลุ่มหลงอยู่กับเสน่ห์ของนาง จนไม่บริหารบ้านเมือง ซึ่งอู๋อ๋องฟูซาหลงใหลนางไซซีมากกว่านางเจิ้งตัน ทำให้นางเจิ้งตันน้อยใจจนผูกคอตาย ขณะที่มาอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ผ่านไป 13 ปี?เมื่อรัฐอู่อ่อนแอลง รัฐเยว่ก็สามารถเอาชนะได้สำเร็จในที่สุด

ภายหลังจากที่อู่อ๋องฟูซา ฆ่าตัวตายไปแล้ว นางกับอำมาตย์ฟ่านหลี่ที่ว่ากันว่า ได้ผูกสัมพันธ์ทางใจไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ก็ได้หายตัวไปพร้อมกันหลังเหตุการณ์นี้ บ้างก็ว่าทั้งคู่ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ทะเลสาบไซ้โอว (ทะเลสาบซีหู) เป็นต้น

นอกจากนี้แล้วนั้น ไซซียังเป็นผู้ที่สามารถเอาชนะซุนวูเจ้าของพิชัยยุทธ์ที่โด่งดังได้อีกด้วย ในช่วงนั้นซุนวูได้นำผู้หญิงจำนวนหนึ่งมาสาธิกลยุทธ์และวิธีการต่างๆมากมายหลายต่อหลายครั้ง ด้วยความที่เขารู้สึกว่าผู้หญิงนั้นไม่มีประโยชน์อะไรในการสงครามเนื่องจากไม่มีพละกำลังและความเป็นผู้นำทัดเทียมกับผู้ชายนั่นเอง

จากการสาธิตนั้น ทำให้บางครั้งมีผู้หญิงถึงกับล้มตายและบาดเจ็บ บางคนถึงกับเก็บไปคิดมากเมื่อถูกซุนวูต่อว่า(ที่จะแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมีจิตใจอ่อนแอ)จนถึงกับฆ่าตัวตาย เมื่อไซซีพบเห็นเหตุการณ์นี้เข้าหลายต่อหลายครั้งเธอก็ทนไม่ไหวอีกต่อไปในฐานะที่่เป็นผู้หญิงเช่นเดียวกัน เธอจึงตัดสินใจ เข้าไปปะทะกับซุนวูเพื่อให้เขาเปลี่ยนแนวคิดเรื่องผู้หญิงให้ได้ แต่เธอก็ต่อสู้ด้วยวิธีของผู้หญิง นั่นคือการโต้วาที

เธอชี้ให้ซุนวูเห็นว่าหากขาดซึ่งผู้หญิงแล้ว ต่อให้ผู้ชายชนะสงครามก็ไม่อาจทำให้กิจการบ้านเมืองดำรงต่อไปได้ เพราะผู้ชาย “ไม่สามารถสืบทายาท” หากขาดซึ่งผู้หญิง เธอถึงกับหลอกด่าซุนวูไปด้วยซ้ำว่าสิ่งใดๆก็แล้วแต่ที่เขาได้ว่า และพูดเกี่ยวกับผู้หญิงเสียๆหายๆในพิชัยยุทธ์ของเขาคงเพราะที่แท้มารดาของเขาก็ไม่ใช่ผู้หญิง(เหอ)

นอกจากนี้เธอยังชี้ให้เห็นว่าในขณะที่ผู้ชายลำบากแทบตายเพื่อทำสิ่งใด บางครั้งผู้หญิงก็เพียงแค่ใช้คำพูดไ่ม่กี่คำ ยิ้ม หรือทำอะไรนิดหน่อย ผู้ชายต่างหากที่เป็นฝ่ายมายอมทำแทนให้แบบถวายชีวิต และด้วยเหตุผลยิบย่อยอีกหลายต่อหลายข้อ อีกทั้งมีการยกประวัิติศาสตร์ทั้งเรื่องของราชวงศ์และคนธรรมดา ทำให้ซุนวูถึงกับจนมุม(อึ้งอะสิ) และตั้งแต่นั้น เขาก็เลิกพูดจาดูถูกผู้หญิง และลดความรุนแรงในการสาธิตไปมาก อีกทั้งนุ่มนวลกับผู้หญิงมากขึ้น จากเหตุการณ์นี้ ผู้คน จึงขนานนามเพิ่มให้กับไซซีว่า “ไซซี..ยอดหญิงงามผู้สยบจอมยุทธ์ มีชัยเหนือซุนวู”

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย