เนื่องในโอกาสตอนรับปีใหม่ ปี2016ที่กำลังจะถึงนี้ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ศูนย์การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศแห่งประเทศจีนและวิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันจัด “คอนเสิร์ตวงดนตรีขนาดเล็กเซิ่งเฟิงและวงเครื่องดนตรีดั้งเดิม จีนหร่วน” แสดงโดยวงดนตรีขนาดเล็กเซิ่งเฟิงและวงดนตรีดั้งเดิมจีนหร่วนจากวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์แห่งประเทศจีน เพื่อมอบคำอวยพรให้กับประชาชนชาวไทยในวันปีใหม่พร้อมทั้งในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ40ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย
คอนเสิร์ตรอบปฐมทัศน์จะจัดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคม ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ โดยมีประธานในพิธี ได้แก่ องคมนตรีท่านเกษม วัฒนชัย ผู้อำนวยการศูนย์การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ท่านหยู เผิง อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมท่านพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อุปทูตฝ่ายวัฒนธรรมประจำสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ท่านเฉิน เจียงและนายกสมาคมชาวจีนต่างๆในประเทศไทยพร้อมทั้งผู้ชมเกือบ400ท่านมาร่วมชมการแสดงรอบปฐมทัศน์ครั้งนี้.
องคมนตรีท่านเกษม วัฒนชัย ได้กล่าวในพิธีเปิดงานคอนเสิร์ตครั้งนี้ว่า ในปีนี้เป็น40ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตจีนไทย มีความหมายอย่างมากต่อรัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศ ขอขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรมจีนที่ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนไทย ขอขอบคุณศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯที่ใน1ปีที่ผ่านมา ได้จัดกิจกรรมที่เต็มไปด้วยสีสันกว่าร้อยกิจกรรม ยิ่งในโอกาสที่จะถึงปีใหม่นี้ ได้เชิญวิทยาลัยดนตรีที่ดีที่สุดของจีน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์แห่งประเทศจีน มาจัดการแสดงคอนเสิร์ตให้แก่ชาวไทยได้รับชม และยังจะไปจัดแสดงแลกเปลี่ยน ณ วิทยาลัยดนตรีที่ดีที่สุดของไทย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล นับว่ามีความหมายอย่างมาก เชื่อว่าการแสดงโดยวิทยาลัยดนตรีที่ดีที่สุดของจีนและไทยนั้น จะต้องเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนชาวไทย.
ในคอนเสิร์ตจะมีการแสดงเพลง “สนุกกับอุปรากรจีน” “ลำธารในหุบ” “สี่ฤดูกาล” “ธารน้ำไหลริน” “กลองบุปผา” “จิ่วเอ๋อ”เป็นต้น การเลือกเพลงที่ใช้แสดงในคอนเสิร์ตครั้งนี้ต้องใช้ความคิดอย่างมาก ทั้งทำนองดั้งเดิมและแบบที่แต่งทำนองใหม่ เต็มไปด้วยเรื่องราวและอารมณ์ของชนเผ่า ผู้แสดงจากคณะ “หร่วน”ใส่ชุดพื้นเมืองและเล่นเครื่องดนตรีหร่วนที่เป็นที่ยังไม่ค่อยรู้จักของคนไทยมากนัก เป็นการแสดงที่มีทั้งแบบพื้นเมืองและร่วมสมัย.
ในขณะที่การแสดงจบลง โรงละครเต็มไปด้วยเสียงปรบมือไม่ขาดสาย แขกผู้มีเกียรติต่างลุกขึ้นปรบมือให้กับนักแสดง จนกระทั่งนักแสดงได้กลับมาแสดงซ้ำถึงสองครั้ง ในบทเพลงพื้นเมืองของจีน “แข่งม้า” และบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “สายฝน”และเพลงพื้นบ้านของไทย “ลอยกระทง” ประเพณีลอยกระทงของไทยเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ในขณะที่บรรเลงเพลงลอยกระทงเป็นเพลงสุดท้ายนั้น ผู้ชมชาวไทยได้ปรบมือตามจังหวะของเพลง พร้อมทั้งลุกขึ้นจากที่นั่งฟ้อนรำเพลงลอยกระทง เป็นช่วงที่ประทับใจที่สุดในคอนเสิร์ตครั้งนี้.
หลังจากการแสดงจบลง ผู้ชมต่างไม่อยากออกไปจากงานคอนเสิร์ตครั้งนี้ ต่างไปถ่ายรูปที่ระลึกกับนักแสดง ผู้ชมหลายท่านได้สอบถามเจ้าหน้าที่ของทางศูนย์วัฒนธรรมจีนเรื่องการขอซื้อเทปบันทึกภาพการแสดงในครั้งนี้และสอบถามการเปิดการเรียนเครื่องดนตรีจีนของทางศูนย์วัฒนธรรม.
ในวันที่ 27 ธันวาคม คอนเสิร์ตจะจัดขึ้นที่วิทยาลัยดนตรีที่ดีที่สุดของไทย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท่วงทำนองที่ไพเราะอ่อนหวานและคึกคักของเครื่องดนตรีจีนสร้างความประทับใจอย่างลึกซึ้งแก่อาจารย์และนักเรียนชาวไทย การแสดงประสบความสำเร็จอย่างมากมายได้รับการต้อนรับและคำชมจากอาจารย์และนักศึกษาชาวไทย กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรม “วัฒนธรรมจีนเข้าสู่สถาบันการศึกษา” ที่สำคัญกิจกรรมหนึ่งของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน.