“ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู—36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ” ตอนที่ 4 กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย

  วิดีโอสั้นชุด “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู—36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ” โดยจะนำเสนอผ่านเรื่องสั้นในยอดวรรณกรรมเลื่องชื่อ “สามก๊ก” อธิบายให้คุณรู้จักและเข้าใจกับกลยุทธ์ทั้ง 36 นี้ “36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ” เดิมเป็นหนังสือทางการทหารที่แนะนำประสบการณ์ทางทหารของจีนโบราณ แต่ในปัจจุบันผู้คนมักนำกลยุทธ์โบราญอันชาญฉลาดนี้มาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ กีฬา และในชีวิตประจำวัน

**********************

ในครั้งนี้ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ขอเชิญคุณมารับชมไปพร้อมกันกับ

กลยุทธ์ชนะศึก ตอนที่ 4 กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย

       เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังคงมีความเข้มแข็ง กำลังไพร่พลทหารยังคงแข็งแกร่งยากจะต่อสู้ ก็ไม่ควรจะเข้าปะทะโดยตรงด้วยแรงและพละกำลังที่มีอยู่ แต่ยามใดที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอในกองทัพต้องรีบฉกฉวยโอกาสนำกำลังบุกเข้าโจมตีโดยเร็ว เพื่อเป็นการข่มขวัญและป้องกันไม่ให้ศัตรูหวนกลับมาแข็งแกร่งดั้งเดิม กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเป็นการใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ให้ระยะเวลาเป็นการบั่นทอนกำลังและจิตใจของศัตรู ฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์จากเดิมที่กลายเป็นรองหรือเสียเปรียบให้กลายเป็นฝ่ายได้เปรียบเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ

🎞วิดีโอชุดนี้ได้ผสมผสาน 36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะเข้ากับศิลปะการต่อสู้กังฟูของจีน สาธิตกระบวนท่ากังฟูใน 36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ มาตีความผ่านเรื่องราวและกรณีศึกษาในอดีตที่น่าสนใจ สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในอดีตที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมโบราณที่ได้รับการสืบทอดสืบมา มีทั้งหมด 36 ตอน แต่ละตอนยาว 1 นาที มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและอังกฤษ

ภาพยนตร์สารคดีและวิดีโอสั้นชุด “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู” จัดทำและเผยแพร่โดยหนังสือพิมพ์ออนไลน์ China Daily กำกับการถ่ายทำโดยหลง อันจื้อ ผู้กำกับชาวอเมริกัน ผลงานชุดนี้มีทั้งภาพยนตร์สารคดี “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู” วิดีโอสั้นชุด “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู—36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ” และ “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู—แนวคิดจีนโบราณ” ด้วยความร่วมมือจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ China Daily และเซียงปาลาสตูดิโอ

         🍂🍃🍂🍃🍂🍃🍂🍃🍂🍃🍂🍃🍂🍃

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย