“ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู—36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ” ตอนที่ 9 กลยุทธ์กลยุทธ์ดูไฟชายฝั่ง

วิดีโอสั้นชุด “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู—36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ” โดยจะนำเสนอผ่านเรื่องสั้นในยอดวรรณกรรมเลื่องชื่อ “สามก๊ก” อธิบายให้คุณรู้จักและเข้าใจกับกลยุทธ์ทั้ง 36 นี้ “36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ” เดิมเป็นหนังสือทางการทหารที่แนะนำประสบการณ์ทางทหารของจีนโบราณ แต่ในปัจจุบันผู้คนมักนำกลยุทธ์โบราญอันชาญฉลาดนี้มาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ กีฬา และในชีวิตประจำวัน

**********************

ในครั้งนี้ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ขอเชิญคุณมารับชมไปพร้อมกันกับ

กลยุทธ์ชนะศึก ตอนที่ 9 กลยุทธ์กลยุทธ์ดูไฟชายฝั่ง

        เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้โอกาสที่ศัตรูเกิดการแตกแยก วุ่นวายและปั่นป่วนอย่างหนักภายในกองทัพ พึงรอจังหวะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ จับตาดูความเคลื่อนไหวของศัตรูทุกฝีก้าว ถ้าศัตรูเกิดความระแวงและใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันเอง เกิดการเข่นฆ่าแย่งชิงความเป็นใหญ่ แนวโน้มความพินาศและวอดวายก็จะเกิดขึ้นภายในกองทัพ ในช่วงระยะเวลานี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของฝ่ายศัตรู เตรียมความพร้อมในกองทัพไว้ล่วงหน้า ช่วงชิงชัยชนะมาเป็นของตนโดยใช้การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของศัตรูให้เป็นประโยชน์

🎞วิดีโอชุดนี้ได้ผสมผสาน 36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะเข้ากับศิลปะการต่อสู้กังฟูของจีน สาธิตกระบวนท่ากังฟูใน 36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ มาตีความผ่านเรื่องราวและกรณีศึกษาในอดีตที่น่าสนใจ สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในอดีตที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมโบราณที่ได้รับการสืบทอดสืบมา มีทั้งหมด 36 ตอน แต่ละตอนยาว 1 นาที มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและอังกฤษ

ภาพยนตร์สารคดีและวิดีโอสั้นชุด “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู” จัดทำและเผยแพร่โดยหนังสือพิมพ์ออนไลน์ China Daily กำกับการถ่ายทำโดยหลง อันจื้อ ผู้กำกับชาวอเมริกัน ผลงานชุดนี้มีทั้งภาพยนตร์สารคดี “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู” วิดีโอสั้นชุด “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู—36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ” และ “ตามรอยศิลปะการต่อสู้กังฟู—แนวคิดจีนโบราณ” ด้วยความร่วมมือจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ China Daily และเซียงปาลาสตูดิโอ

         🍂🍃🍂🍃🍂🍃🍂🍃🍂🍃🍂🍃🍂🍃

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย