เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน คณะนักแสดงจากหอดนตรีและการแสดงซูโจวได้มาแสดงนำใน “การแสดงศิลปวัฒนธรรม มณฑลเจียงซู” ซึ่งจะแบ่งออกเป็นวันที่ 20 และ 22 มิถุนายน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร เพื่อแสดงให้เห็นถึงความงดงามที่แท้จริงของประเพณีนิยมแห่งเจียงซู ดึงดูดให้ผู้ชมมากกว่า 700 คนมารับชมการแสดง
“การแสดงศิลปวัฒนธรรม มณฑลเจียงซู” มีเนื้อหาสาระมากมาย รูปแบบที่หลากหลาย ในแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเจียงซู ในบางตอนของการแสดงคลาสสิคชุด “ศาลาดอกโบตั๋น” ได้หลอมรวมบทกวี คำศัพท์ ดนตรี การเต้นรำ ละคร เข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงเสน่ห์ของงิ้วคุนฉวี่ซึ่งถือเป็น “ต้นตำรับแห่งอุปรากรจีน” เพลิดเพลินไปกับการร้องเพลงประกอบการเล่าเรื่องที่มีชื่อเสียงของซูโจว “เสียงที่ไพเราะที่สุดแห่งเมืองจีน” โดยใช้ภาษาท้องถิ่นในการขับร้อง ทำให้ผู้ชมเกิดจินตภาพของดินแดนเจียงหนานที่อุดมสมบูรณ์และวิถีชีวิตที่งดงาม การบรรเลงบทเพลง “เจียงหนานซือจู๋” อันไพเราะที่จะทำให้ผู้ชมหลงใหล ดึงดูดให้ผู้ชมเหมือนหลุดเข้าไปท่ามกลางทัศนียภาพที่งดงามดั่งบทกวีและภาพวาดเมืองซูโจวโบราณนับพันปี ประเพณีการเต้นรำพื้นบ้านที่อ่อนช้อย งดงามของซูโจวที่อบอวลไปด้วยกลิ่นไอเมืองแห่งสายน้ำ แสดงถึงความผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมโบราณและสมัยนิยมอย่างลงตัวแห่งผืนน้ำเจียงหนาน รวมทั้งภูมิอากาศและประเพณีนิยมอันสวยงามและเงียบสงบ
การแสดงในครั้งนี้ที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยลัยศรีนครินทร์วิโรฒในวันที่ 22 มิถุนายน ได้มีการแทรกการแสดงของคณะศิลปกรรมศาสตร์ของมหาลัยนี้ ซึ่งเป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทย จากระบำพัดของภาคใต้ที่เร่าร้อน พลิ้วไหว จนถึงระบำแสงเทียนอันศักดิ์สิทธิ์และทรงสง่าของล้านนา ตลอดไปจนถึงรำพื้นเมืองที่สนุกสนานครื้นเครงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงระบำ “เทพอัคคี” จากวรรณคดีของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ขาดไม่ได้เลยคือ การแสดงที่นำเอาศิลปวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานเป็นอันหนึ่งเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสัมพันธไมตรีที่แน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ