ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน #วรรณกรรม และ #ดนตรีพื้นบ้านจีน “ดนตรีแห่งคิมหันตฤดู กลิ่นหอมสู่บทกวี”

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน #วรรณกรรม และ #ดนตรีพื้นบ้านจีน “ดนตรีแห่งคิมหันตฤดู กลิ่นหอมสู่บทกวี”

วันที่ 6 กรกฎาคม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวรรณกรรมและดนตรีพื้นบ้านจีน “ดนตรีแห่งคิมหันตฤดู กลิ่นหอมสู่บทกวี”กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงมรดกอันลึกซึ้งและเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของวรรณกรรมและดนตรีพื้นบ้านจีนผ่านกิจกรรมและการแสดงที่หลากหลาย กิจกรรมนี้ดึงดูดนักเรียนคอร์สหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมจีนของศูนย์ฯ ตลอดจนนักเรียนและครูจากโรงเรียนของไทยเข้าร่วมมากกว่า 100 คน บรรยากาศในงานอบอุ่นและน่าสนใจเป็นอย่างมาก

เริ่มงานด้วยพิธีเปิดอย่างอบอุ่นจากพิธีกร ถัดมาเป็นการแสดง #มวยไท่จี๋ตระกูลหยาง วงกว้างสิบสามท่าแบบเก่าและการแสดง #มวยไท่จี๋ตระกูลเฉิน ชุดมวยอี้ลู่แบบเก่าของนักเรียนจากคอร์สไทเก๊ก และนักเรียนจากคอร์สกู่เจิงก็ได้นำการแสดงกู่เจิงในบทเพลง 无羁 ปรมาจารย์ลัทธิมาร และ 凉凉 สามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่ มาให้ผู้ชมรับชมรับฟังด้วย การเคลื่อนไหวอันนุ่มนวลของมวยไท่จี๋และเสียงดนตรีอันไพเราะของกู่เจิงได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมอย่างล้นหลาม

เริ่มกิจกรรมอย่างคึกคักด้วย “เกมตอบคำถามความรู้ทางวรรณกรรม” ผู้เข้าร่วมแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตอบคำถามเกี่ยวกับวรรณกรรมจีนโบราณและสมัยใหม่ แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของพวกเขาต่อวัฒนธรรมจีน ช่วงของกิจกรรม “การท่องบทกวี” และ “การเติมเสียงวรรณยุกต์ให้บทกวี” ทำให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสกับความงดงามและเสน่ห์ของบทกวีจีน และในช่วงท้ายกับเกม “ทายทาย” เกมทายปัญหาทางวรรณกรรมและดนตรีพื้นบ้าน ผู้ชมต่างกระตือรือร้นเข้าร่วม ภายในงานเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา

ภายในงานได้เชิญอาจารย์นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล นักแสดง #เอ้อร์หู ชาวไทย อาจารย์พิเศษวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาบรรเลงบทเพลง《คืนพระจันทร์》และ《ม้าแข่ง (ฉบับใหม่)》ผู้ชมต่างดื่มด่ำไปกับเสียงดนตรีท่วงทำนองสูงต่ำอันไพเราะ แสดงให้เห็นถึงเสน่ห์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของดนตรีพื้นบ้านจีน

กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเสียงตอบรับอันดีจากผู้เข้าร่วมอย่างล้นหลาม นักเรียนไทยคนหนึ่งกล่าวว่า “การเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้ทำให้ฉันเข้าใจวรรณกรรมและดนตรีพื้นบ้านของจีนอย่างลึกซึ้งมากขึ้น การแสดงไทเก๊กและกู่เจิงทำให้ฉันสัมผัสถึงเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม ในขณะที่การท่องบทกวีและเกมตอบคำถามความรู้ทางวรรณกรรมทำให้ฉันเกิดความสนใจอย่างมากต่องานวรรณกรรมจีนโบราณและสมัยใหม่ กิจกรรมนี้ไม่เพียงช่วยให้ฉันได้รับความรู้มากมาย แต่ยังได้รู้จักเพื่อนที่มีความชอบเหมือนกันอีกหลายคน”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้เรียนภาษาจีนจากประเทศต่าง ๆ ต่างให้ความสนใจในการทำความเข้าใจวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมมากขึ้น วรรณกรรมและดนตรีพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาที่ตกผลึกจาก #วัฒนธรรมจีน รวบรวมประวัติศาสตร์อันยาวนานและการถ่ายทอดทางอารมณ์ เป็นช่องทางสำคัญที่พวกเขาใช้ในการศึกษาวัฒนธรรมจีน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ จัดกิจกรรมที่หลากหลายช่วยให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับวรรณกรรมและวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านจีน แสดงให้เห็นถึงเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมจีน และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางอารมณ์และมิตรภาพระหว่างจีนและไทย

ติดตาม “#ศูนย์วัฒนธรรมจีน” ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย