ผ้าไหมสูจิ่น

ผ้าไหมลายหงส์ร่ายรำ (ราชวงศ์ถัง)
ผ้าไหมสูจิ่นมีชื่อตามแหล่งผลิตคือ “สู่” โดยในสมัยโบราณพื้นที่แถบมณฑลเสฉวน มีชื่อว่า “แคว้นสู่” ผ้าไหมสูจิ่นมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าสองพันปี เกิดขึ้นในช่วงยุคชุนชิว รุ่งเรืองที่สุดในช่วงฮั่นถัง

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเยี่ยมชมนิทรรศการผ้าไหมสูจิ่น

ในบรรดาผ้าไหมจิ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีนทั้ง 3 ชนิด ผ้าไหมสูจิ่นถือเป็นผ้าไหมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุด ดังนั้นจึงมีคนขนานนามว่า ผ้าไหมสูจิ่นเป็น “มารดาของผ้าไหมในประเทศจีน”

ลวดลายของผ้าไหมสูจิ่น มีทั้งลายสัตว์ในตำนาน เช่น เสือมังกร กวางเทพ กิเลน ห่านฟ้า ฯลฯ รวมทั้งเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ ฯลฯ เพื่อแสดงถึงความเป็นสิริมงคล

ตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา ผ้าไหมสูจิ่นถือเป็นเครื่องแต่งกายชั้นสูง และวัฒนธรรมผ้าไหมสูจิ่นก็ได้หลอมรวมเข้ากับชีวิตประจำวัน

ปี ค.ศ. 2006 งานฝีมือการทอผ้าไหมสูจิ่น ได้รับการอนุมัติจากสภารัฐกิจให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมกลุ่มแรก โดยสำนักวิจัยผ้าไหมสูจิ่นเฉิงตูมุ่งมั่นอนุรักษ์สืบสาน

ผ้าไหมสูจิ่นที่ถักทอด้วยมือนั้นถือเป็นของล้ำค่า แม้แต่ช่างทอผ้าที่ชำนาญมากก็ทอผ้าสูจิ่นได้ไม่เกิน 10 เซนติเมตรต่อวัน

การทอ: การทอผ้าไหมสูจิ่นต้องใช้เครื่องทอไม้ในการทอ โดยต้องใช้คนสองคน แบ่งเป็นชั้นบนและชั้นล่าง ส่วนด้านบนจะเป็น “ช่างวาดลวดลาย” โดยใช้เส้นด้ายเพื่อวาดลวดลายตามขั้นตอนด้านล่างจะเป็น “ช่างคุมกระสวย” จะคอยสอดเส้นด้ายบรรจุเข้ากระสวย โดยช่างทั้งสองคนจะต้องทำงานร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย