“จอหงวนและขอทาน” เป็นละครเก่าที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อการแสดงถึงโชคชะตาของชีวิต เนื้อเรื่องได้กล่าวถึงทารกคู่หนึ่งที่เกิดในปีเดียวกัน เดือนเดียวกันและวันเดียวกัน คือเหวินหลงและเหวินเฟิ่ง เมื่ออายุครบหนึ่งปี พ่อแม่ทั้งสองได้เชิญให้หมอดูมาทำนายโชคชะตา ปรากฎว่าเหวินหลงได้ถูกทำนายว่ามี “ดวงชะตาของขอทาน” ส่วนเหวินเฟิ่งได้ถูกทำนายว่ามี “ดวงชะตาของจอหงวน” แต่เมื่อเนื้อเรื่องได้ดำเนินไปกลับไม่เป็นเช่นนั้น ดวงชะตาของทั้งสองคนกลับสลับกันไปคนละทิศทางกับที่หมอดูได้ทำนายเอาไว้
.
ผู้เขียนได้ใช้เรื่องราวที่แปลกใหม่ ตั้งแต่มุมมองด้าน ครอบครัว โรงเรียน สังคม ฯลฯ เพื่อเขียนถึงสภาพแวดล้อมทั่วไปที่กระตุ้นให้เด็กทั้งสองคนมีเส้นทางชีวิตที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นถึงชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของตัวละครได้อย่างน่าเชื่อถือ และเผยให้เห็นถึงผลที่ตามมาของทัศนคติและวิธีการอบรมสั่งสอนที่แตกต่างกันสำหรับเด็ก แสดงถึงการล้มล้างมุมมองความเชื่อถือในโชคชะตาและยกย่องความเชื่อแห่งการพัฒนาตนเองที่ไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา
.
แนะนำละครงิ้วหลง(ละครงิ้วมณฑลกานซู่)
.
ละครงิ้วหลง เป็นตัวแทนของละครงิ้วในแถบมณฑลกานซู่ ได้รับการพัฒนามาจากศิลปะหุ่นละครเงาพื้นบ้าน “หลงตงเต้าฉิง” ที่เป็นที่นิยมในพื้นที่แถบชิ่งหยาง
บทเพลงในละครงิ้วหลง จะเป็นรูปแบบการ “ผสมผสาน” ระหว่างป่านเชียง (การขับร้องที่มีทำนองเรียบง่าย) และฉวี่ผาย (การเลือกใช้คำศัพท์ให้เข้ากับดนตรี) การขับร้องที่ไพเราะ เสียงสูงและกังวาน บวกกับรูปแบบการ “ร้องประสานเสียง” อันแข็งแกร่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เต็มไปด้วยลักษณะเฉพาะของชนชาติที่โดดเด่น
.
ในแง่ของศิลปะบนเวที สีสันของเครื่องแต่งกาย ลวดลาย วัสดุและอุปกรณ์ประกอบฉากล้วนมีเอกลักษณ์อันโดดเด่น
เส้นทางการก่อตัวและการพัฒนาของละครงิ้วหลงโดยพื้นฐานคือ การใช้ภาษาทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือเป็นพื้นฐาน ซึมซับคำศัพท์และสำนวนที่โดดเด่นของภาษาถิ่นรอบๆ ชิ่งหยางได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาจีนกลางเพื่อปรับแต่งภาษาถิ่นที่ฟังยาก เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้เป็นวงกว้างยิ่งขึ้น
หลังจากการฝึกฝนทางศิลปะมาเกือบ 60 ปี ศิลปะละครงิ้วหลงได้กลายเป็นดอกไม้ที่เติบโตเต็มที่และสวยงามในสวนของอุปรากรจีน
.
แนะนำโรงละครงิ้วหลงมณฑลกานซู่ ประเทศจีน
.
โรงละครงิ้วหลงแห่งมณฑลกานซู่ (เดิมชื่อ คณะละครงิ้วหลงมณฑลกานซู่) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2502 ถือเป็นหน่วยอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมแห่งประเทศจีน (ละครงิ้วหลง) ชุดแรกในประเทศจีน เป็นหนึ่งในคณะการสร้างละครงิ้วท้องถิ่นที่สำคัญ 39 แห่งในประเทศจีน สมาคมวิจัยอุปรากรจีนร่วมสมัย สมาชิกกลุ่มสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมจีน หน่วยงานผู้อำนวยการด้านโรงละครจีน ปัจจุบันได้ฝึกฝนบุคลากรด้านละครงิ้วที่ได้รับรางวัล “Plum Blossom Award” จำนวน 3 ท่าน
.
รายการการแสดงละครงิ้ว เช่น “เฟิงลั่วฉือ” และ “ฉ่าวหยวนชูชุน” ฯลฯ รวมถึงงิ้วในบทละครโทรทัศน์ “เยี่ยนเหอเฟิงโพ” และ “วั่งจือเฉิงหลง” ฯลฯ ต่างเคยได้รับรางวัลเกือบ 20 ประเภท เช่นรางวัล “ละครใหม่ภาษาจีนกลาง” แห่งชาติ “รางวัลนักแสดงดีเด่น” ของจากเทศกาลละครแห่งประเทศจีน และ “รางวัลพิเศษ” จากหน่วยงานรัฐบาลด้านวัฒนธรรมและศิลปะของจีน เป็นต้น เคยไปแสดงในต่างประเทศเกือบ 20 ประเทศ ต่างได้รับคำชมเชยและเป็นที่ชื่นชอบของหน่วยงานรัฐบาลและประชาชนของแต่ละประเทศ
.