กิจกรรมล่าสุดของ #ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ | ก้าวข้ามพรมแดน เชื่อมโยงจิตใจ— งาน

กิจกรรมล่าสุดของ #ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ | ก้าวข้ามพรมแดน เชื่อมโยงจิตใจ— งาน “บทสนทนา·เพื่อนรู้ใจ” เนื่องในวันสากลแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรม ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ณ กรุงเทพฯ

เพื่อเฉลิมฉลอง “#วันสากลแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรม” ครั้งแรก และส่งเสริมการสร้างเวทีสนทนาระหว่างอารยธรรมผ่านการจัดแสดงและปฏิสัมพันธ์ทาง #วัฒนธรรม ตลอดจนขับเคลื่อนการสร้าง #ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ #สมาคมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ได้ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และ #วิทยาลัยดนตรีเสิ่นหยาง จัดคอนเสิร์ตพิเศษ “บทสนทนา · เพื่อนรู้ใจ” เนื่องใน #วันอารยธรรมสากล เมื่อค่ำวันที่ 12 มิถุนายน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยบุคคลสำคัญจากประเทศไทยและประเทศจีนรวมทั้งสิ้นเกือบ 300 คน ได้แก่ คุณรักชนก โคจรานนท์ รองปลัด #กระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, คุณฉาง อยู่เหมิง อัครราชทูตที่ปรึกษา #สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย, คุณจ้าว ซิน ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีนและ #สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ, คุณเหลียง เฟิงเยี่ยน ผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศวิทยาลัยดนตรีเสิ่นหยาง, คุณหาน เซิ่งหลง ผู้อำนวยการฝ่ายจีน #สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณเซี่ย เสีย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารแห่งประเทศจีน (สาขาประเทศไทย) รวมถึงแขกผู้มีเกียรติและผู้ชมชาวไทยและชาวจีน

ในการกล่าวสุนทรพจน์ คุณฉาง อยู่เหมิง กล่าวว่า ในปี 2023 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอ “ข้อริเริ่มอารยธรรมโลก” ที่สะท้อนถึงการเคารพในความหลากหลายของอารยธรรม และการสนับสนุนสิทธิในการพัฒนาของอารยธรรมต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นการนำภูมิปัญญาแห่งตะวันออกมาช่วยคลี่คลายความปั่นป่วนวุ่นวายของโลก ประเทศจีนและประเทศไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดและมีมิตรภาพอันดีต่อกัน คำกล่าวที่ว่า “#จีนไทยเป็นครอบครัวเดียวกัน” ยังคงงดงามเสมอแม้กาลเวลาล่วงเลยผ่านไป ทั้งสองประเทศยึดมั่นในหลักการเคารพซึ่งกันและกัน เสมอภาคและเกื้อกูลกัน ร่วมกันเผชิญหน้ากับความท้าทาย และส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันมาโดยตลอด จนกลายเป็นแบบอย่างของความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประเทศ

เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประชาชนจีนและไทยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและน่าประทับใจ และได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างอารยธรรมของทั้งสองประเทศ หวังว่าการแสดงในครั้งนี้จะจุดประกายให้เกิดความเคารพและชื่นชมในความหลากหลายของอารยธรรม และจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่จีน-ไทยจำนวนมากขึ้นได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนอารยธรรม และเป็นผู้ผลักดันความก้าวหน้าของอารยธรรม ร่วมกันสร้างประชาคมโลกที่เปิดกว้างและโอบรับความหลากหลายของอารยธรรม

คุณรักชนก โคจรานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า “วันสากลแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรม” สะท้อนถึงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาคมโลกในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความงดงามของหลากหลายอารยธรรม ประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่แน่นแฟ้นและเป็นมิตรมาโดยตลอด ทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนแนวคิดผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลมาอย่างยาวนาน จนเกิดเป็นประเพณีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนอารยธรรมซึ่งยังคงดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นรากฐานสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-จีน กิจกรรมในวันนี้จึงถือเป็นการสืบสานและต่อยอดจิตวิญญาณของการสนทนาระหว่างอารยธรรมในยุคสมัยใหม่ให้มีความหลากหลายและมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์เถียนเยี่ยน อธิการบดีวิทยาลัยดนตรีเสิ่นหยาง ได้ส่งคำอวยพรผ่านวิดีโอเพื่อร่วมแสดงความยินดีกับงานในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า “วันสากลแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรม” ซึ่งริเริ่มโดยประเทศจีน และจัดตั้งโดยองค์การสหประชาชาติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันการสนทนาอย่างเสมอภาคระหว่างอารยธรรมต่าง ๆ สร้างความเคารพซึ่งกันและกัน และเสริมพลังบวกให้แก่มวลมนุษยชาติในการร่วมมือกันรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ

ในการเดินทางมายังประเทศไทยครั้งนี้ วิทยาลัยดนตรีเสิ่นหยางได้นำดนตรีเป็นสื่อกลาง และได้จัดเตรียมงานแสดงวัฒนธรรมอันวิจิตรที่ถ่ายทอดเสน่ห์ของดนตรีจีนไว้อย่างเต็มเปี่ยม โดยหวังว่าจะสามารถจุดประกายแรงบันดาลใจทางด้านศิลปะร่วมกับประเทศไทย พร้อมส่งเสริมความรุ่งเรืองร่วมกันในด้านศิลปวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ

การแสดงครั้งนี้เปี่ยมไปด้วยความตระการตาหลากหลายรูปแบบ โดยมีไฮไลต์การแสดงที่สลับสับเปลี่ยนกันอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ระบำชุด “ถ้ำหินพระอาทิตย์และพระจันทร์” ที่เปี่ยมด้วยความโรแมนติกลึกซึ้ง, “นกป่าหยอกเย้า” ที่มีชีวิตชีวาและขี้เล่น, “สายลมอ่อนๆ” ซึ่งงดงามราวบทกวี ที่ได้ถ่ายทอดจินตภาพอันงดงามของนาฏศิลป์จีนแบบคลาสสิก และยังมีบทเพลงพื้นบ้านอย่าง “สายน้ำไหล”, “ดอกมะลิ”, “เพลงเรืออูซูหลี่” ที่บรรเลงอย่างไพเราะอ่อนหวาน อบอวลไปด้วยเสน่ห์ของวัฒธรรมท้องถิ่น บทบรรเลงเดี่ยว #เครื่องดนตรีสั่วน่า “ร้อยวิหคคำนับพญาหงส์” เปี่ยมไปด้วยทักษะชั้นยอดและพลังอันยิ่งใหญ่ จนได้รับเสียงปรบมืออย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย บทขับร้องคู่ชายหญิง “สวัสดี-หนีห่าว” ถ่ายทอดผ่านสองภาษาไทยและจีนที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและความรู้สึกดี ๆ ที่ส่งผ่านมิตรภาพและความสัมพันธ์อันงดงาม เมื่อการแสดงสุดท้ายจบลง เสียงปรบมือที่ดังกึกก้องอย่างไม่ขาดสายของผู้ชม ก็ได้กลายเป็นการปิดฉากการแสดงที่ยอดเยี่ยมอย่างสมบูรณ์แบบ

นอกจากกิจกรรมการแสดงแล้ว ในช่วงเช้าของวันที่ 12 มิถุนายน สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดการบรรยายพิเศษภายใต้หัวข้อ “เรื่องเล่าประเทศจีน” โดยเชิญศาสตราจารย์ เสิ่น อี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์จากวิทยาลัยดนตรีเสิ่นหยางมาเป็นวิทยากรบรรยายหลักในงานครั้งนี้ โดยถ่ายทอดผ่านหัวข้อ “ความงามแห่งการผสมผสาน : การถ่ายทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมจีนผ่านผลงานระบำ” อาทิ ผลงานคลาสสิกอย่าง “ร่ายรำหย่งชุน”, “เพียงหนึ่งเดียวในโลกเขียวขจี” และ “ดวงดาวห้าแฉกจากทิศบูรพา” ที่แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมและศิลปะสมัยใหม่ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิดว่าด้วยบทสนทนาทาง #วัฒนธรรมนาฏศิลป์ ระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย ตลอดจนการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม โดยมอบประสบการณ์ทางวิชาการและวัฒนธรรมที่เข้มข้นแก่คณาจารย์และนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันวิทยากรก็ได้อธิบายเนื้อหาที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย พร้อมสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้เข้าร่วมงาน โดยเชิญชวนให้ร่วมเรียนรู้ท่วงท่าการรำแบบดั้งเดิมของจีน เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้สัมผัสความงดงามของนาฏศิลป์จีนอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเปี่ยมด้วยความรื่นรมย์

ปี 2025 เป็นปีครบรอบ #50ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนไทย รวมทั้งการเฉลิมฉลอง 50 ปีทองแห่งมิตรภาพอันงดงามจีน–ไทย โดยตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนและประเทศไทยได้ร่วมเดินทางเคียงข้างกันบนเส้นทางแห่งมิตรภาพ ผ่านบทสนทนาแห่งวัฒนธรรมและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในหลากหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม จนกลายเป็นมิตรภาพที่ผูกพันลึกซึ้ง ผ่านการเปิด “บทสนทนา” ภายใต้ชื่อ “มิตรภาพแท้ที่รู้ใจกันอย่างลึกซึ้ง” แสดงให้เห็นถึงการลงมือทำตามข้อริเริ่มเรื่องอารยธรรมโลกของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง อย่างจริงจัง และเนื่องในโอกาสร่วมเฉลิมฉลองวันสากลแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรมครั้งแรก จีนและไทยได้สานต่อความร่วมมือในหลายด้านอย่างต่อเนื่อง พร้อมร่วมกันสร้างเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนทางอารยธรรม และร่วมแรงร่วมใจผลักดันการสร้างประชาคมจีน–ไทยให้มั่นคงและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

ติดตาม “#ศูนย์วัฒนธรรมจีน” ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ

ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพฯ ส่งเสริมความสัมพันธ์กระชับมิตร และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย