วันที่ 8 พฤษภาคม กิจกรรมแลกเปลี่ยนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “เสน่ห์ชาจีนหอมทั่วหล้า” “ลิ้มรสชาร่วมชมซีจ้าง” ซึ่งจัดโดยศูนย์วัฒนธรรมและสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และกรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเขตปกครองตนเองซีจ้าง จัดขึ้นที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ อย่างสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี คุณหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย คุณฉางยู่เหมิง อุปทูตที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย คุณ Soohyun Kim ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ คุณบุญเสริม ขันเเก้ว รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย คุณอู๋หลิน ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมการค้าวิสาหกิจจีน-ไทยและพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของงาน “เสน่ห์ชาจีนหอมทั่วหล้า” “ลิ้มรสชาร่วมชมซีจ้าง” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) คุณมงคล บางประภา ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คุณเชว่เสี่ยวหัว ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ พร้อมด้วยมิตรสหายกว่า 100 ท่านจากทุกสาขาอาชีพในประเทศจีนและประเทศไทย รวมถึงสื่อมวลชน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
คุณหานจื้อเฉียง กล่าวในสุนทรพจน์ว่าชามีต้นกำเนิดในประเทศจีนและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก การปลูกและดื่มชาเป็นความสัมพันธ์ที่กลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ การคบหากับมิตรสหายโดยมีชาเป็นสื่อกลางช่วยเชื่อมสายใยสัมพันธ์ระหว่างผู้คน วัฒนธรรมชาแฝงด้วยแนวคิดเชิงปรัชญาและภูมิปัญญาการใช้ชีวิตของชาวตะวันออก ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้ชาในซีจ้างประเทศจีนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว วันนี้คุณไม่เพียงแต่จะได้ลิ้มรสชาซีจ้างเท่านั้น แต่ยังได้สัมผัสกับมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติ เช่น ธูปซีจ้างและเครื่องแต่งกายของซีจ้าง เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความเจริญรุ่งเรืองทางสังคมและเศรษฐกิจที่ทันสมัยของซีจ้างประเทศจีน หวังว่าเพื่อนๆ ชาวไทยจะได้เดินทางไปยังที่ราบสูงที่เต็มไปด้วยหิมะและสัมผัสประสบการณ์การพัฒนา การเปลี่ยนแปลงและเสน่ห์อันไร้ขอบเขตของซีจ้างด้วยตนเอง
คุณบุญเสริม ขันเเก้ว กล่าวว่ามิตรภาพจีน-ไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีความทรงจำอันล้ำค่ามากมายที่ควรค่าแก่การแบ่งปัน พวกเรารับประทานอาหารจีน ดื่มชาจีนและเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญๆ ด้วยกัน ตอนนี้ “จีนและไทยเป็นครอบครัวเดียวกัน” และได้เข้าสู่ “ยุคปลอดวีซ่า” แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศก็ยิ่งใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น จีนและไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญระหว่างกัน การยกเว้นวีซ่าทำให้การเดินทางไปมาหาสู่กันสะดวกยิ่งขึ้นและการแลกเปลี่ยนบุคคลระหว่างทั้งสองประเทศก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งเอื้อต่อการส่งเสริมการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม เชื่อว่างานในวันนี้จะทำให้คนไทยอยากไปเที่ยวซีจ้างมากขึ้นและ “ซีจ้าง ประเทศจีน” จะกลายเป็นเมืองในฝันที่อยากไปเยือนเพิ่มขึ้นอีกด้วย หวังว่าทั้งสองประเทศจะกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ร่วมกันปรับปรุงคุณภาพการท่องเที่ยวและร่วมกันเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย
กิจกรรมในครั้งนี้ได้เชิญคณะผู้แทนจาก “ซีจ้าง ประเทศจีน จาซีเต๋อเหลย” มายังกรุงเทพฯ เพื่อประชาสัมพันธ์และจัดแสดงชาซีจ้าง ชาซีจ้างมีชื่อเสียงในด้านเทคนิคการผลิตอันเป็นเอกลักษณ์และรสชาติที่กลมกล่อม เป็นไข่มุกที่เปล่งประกายในวัฒนธรรมชาจีน คณะผู้แทนได้เดินทางเพื่อนำผลิตภัณฑ์ชาซีจ้างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเป็น “ชาหวาน” ที่มีกลิ่นหอมคล้ายนมและมีรสหวานอร่อย “ซูโหยวฉา(ชาเนย)” มีความกลมกล่อม นุ่ม เค็ม ละหวาน รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้ทุกคนต่างชื่นชมหลังจากได้ลิ้มรส นอกจากนี้ยังมีศิลปินมาสาธิตการชงชาดำซีจ้าง ชาเขียวและชาอิฐ (ชาแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า) ที่ผลิตจากพื้นที่ซีจ้าง “ภูเขาสูงเสียดฟ้าในสายหมอกทำให้เกิดชาที่ดี” สวนชาที่สูงที่สุดในโลกซึ่งมีต้นชาที่ปลูกด้วยถั่งเช่าและเห็ดมัตสึทาเกะ ทุกคนแทบรอไม่ไหวที่จะลิ้มรสกลิ่นหอมที่เข้มข้นและกลมกล่อมจากที่ราบสูงที่เต็มไปด้วยหิมะของซีจ้าง ประเทศจีน
นอกจากชาซีจ้างแล้ว คณะผู้แทนจาก “ซีจ้าง ประเทศจีน จาซีเต๋อเหลย” ยังนำธูปซีจ้างและเครื่องแต่งกายซีจ้าง ซึ่งอยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติในปีค.ศ.2008 มาจัดแสดงอีกด้วย มีการจัดแสดงเครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชายและผู้หญิงจำนวน 14 ชุดจากเจ็ดเมือง เช่นเมืองลาซาและเมืองซีกาเจ ให้ผู้ชมได้ลองสวมใส่และถ่ายรูป งานหัตถกรรมอันประณีตและการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ถ่ายทอดเสน่ห์ของวัฒนธรรมดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี มีการจัดแสดงผลงานภาพถ่ายมากกว่า 30 ชิ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จัดแสดงภาพถ่ายพระราชวังโปตาลา ภูเขาเอเวอเรสต์และสถานที่ที่มีชื่อเสียงอื่นๆ รวมถึงทิวทัศน์ทางธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงประเพณีพื้นบ้าน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศและการก่อสร้างเมืองของซีจ้าง ประเทศจีน
ในวันที่ 9 พฤษภาคม คณะผู้แทนจาก “ซีจ้าง ประเทศจีน จาซีเต๋อเหลย” จะเดินทางไปยังสถาบันขงจื้อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย เพื่อนำชาซีจ้าง ธูปซีจ้าง เครื่องแต่งกายซีจ้างจัดแสดงวัฒนธรรมซีจ้าง ประเทศจีน ให้แก่คณาจารย์และนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรม “เสน่ห์ชาจีนหอมทั่วหล้า” ในการเข้าสู่สถาบันการศึกษาและขยายอิทธิพลของวัฒนธรรมชาจีน
วัฒนธรรมชาจีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ประเทศจีนเป็นบ้านเกิดของชา ชาได้แทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวันของชาวจีนในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่เส้นทางสายไหมโบราณ ถนนม้า-ชาโบราณ ไปจนถึงโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ในปัจจุบัน ชาได้เดินทางผ่านประวัติศาสตร์และข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการดื่มชา จีนและไทยใช้ชาเป็นสื่อกลางด้านภาษา ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่หลากหลายโดยใช้ชาเป็นสื่อกลาง ทำให้ชาวจีนและชาวไทยมีความเข้าใจวัฒนธรรมชาของกันและกันได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่วัฒนธรรมชาระหว่างจีนและไทย
กิจกรรมแลกเปลี่ยนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “เสน่ห์ชาจีนหอมทั่วหล้า” “ลิ้มรสชาร่วมชมซีจ้าง” ประจำปี 2024 ใช้วัฒนธรรมชาเป็นจุดเริ่มต้นในการแสดงขนบธรรมเนียมพื้นบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ผ่านชาซีจ้าง ธูปซีจ้าง เครื่องแต่งกายซีจ้างและสมบัติทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของซีจ้าง ประเทศจีน นำเสนอภาพพิธีชงชาอันเป็นเอกลักษณ์และมีสีสันให้คนไทยได้เข้าใจและสัมผัสกับเสน่ห์อันของพื้นที่ที่สูงที่สุดในโลก ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีจ้าง ประเทศจีน